Marketing 5.0 : Technology for Humanity (2021)
by Philip Kotler, Hermawan Kartajaya and Iwan Setiawan
“Marketing’s purpose always is to enhance people’s lives and contribute to the Common Good.”
เมื่อโลกธุรกิจต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงทั้งด้านโครงสร้างทางสังคม ค่านิยมของผู้คน ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์และพัฒนาการแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยีสมัยใหม่ กลยุทธ์การทำการตลาดขององค์กรก็จำเป็นต้องวิวัฒนาการตามการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นอย่างต่อเนื่องเฉกเช่นเดียวกัน
Marketing 5.0 : Technology for Humanity คือ ตำราการตลาดเล่มล่าสุดของ Philip Kotler ศาสตราจารย์แห่ง Kellogg School of Management เจ้าของฉายา “บิดาแห่งการตลาดสมัยใหม่” ผู้ทำให้แนวคิดทางการตลาดสำคัญอย่าง 4P (product, price, place, promotion) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย พร้อมด้วยผู้เขียนอีกสองท่านอย่าง Hermawan Kartajaya และ Iwan Setiawan ที่ว่าด้วยกลยุทธ์การทำการตลาดในโลกยุคดิจิตอลที่นักการตลาดสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีด้านการตลาด (martech) ชั้นสูงมาช่วยสร้าง สื่อสาร ส่งมอบและเสริมคุณค่าให้กับลูกค้าตลอดทุกขั้นตอนการเดินทาง (customer journey) เพื่อมอบประสบการณ์ที่เหนือระดับควบคู่ไปกับการเสริมคุณค่าทางจิตวิญญาณของพวกเขาในฐานะมนุษย์
สำหรับนักการตลาดมืออาชีพและผู้ที่สนใจศาสตร์ด้านการตลาดแห่งยุค หนังสือ Marketing 5.0 เล่มนี้ถือเป็น “วิชาเรียนภาคบังคับ” ที่ทุกท่านควรศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ขอเชิญทุกท่านอ่านสรุปหนังสือเล่มนี้ได้เลยครับ
ปรมาจารย์ด้านการตลาด Philip Kotler (ขอบคุณภาพจาก World Marketing Summit Group)
Part I – Introduction
Chapter 1. Welcome to Marketing 5.0 : Technology for Humanity
ก่อนที่จะกล่าวถึงกลยุทธ์การตลาดแบบ Marketing 5.0 ผมขอเล่าย้อนประวัติศาสตร์ของกลยุทธ์การตลาดใน 4 ยุคแรกก่อนเพื่อให้ทุกท่านได้เห็นภาพของวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา อันประกอบไปด้วย
เมื่อเทคโนโลยีชั้นสูงในโลกยุคปัจจุบัน อาทิ artificial intelligence (AI), Internet of Things (IoT), natural language processing (NLP) และ virtual reality (VR) นั้นมีขีดความสามารถที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับปัญหาเชิงโครงสร้างทางสังคมอย่าง ช่องว่างของผู้คนในแต่ละยุคสมัย (generation gap), ความเหลื่อมล้ำทางฐานะที่พุ่งสูงขึ้นและการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันจากเทคโนโลยีดิจิตอลที่ล้วนเริ่มส่งผลกระทบต่อรูปแบบการดำเนินธุรกิจทั่วโลกมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ กลยุทธ์การทำการตลาดที่สามารถนำเอาประโยชน์ของเทคโนโลยีชั้นสูงมาใช้ในการแก้ปัญหาสุดท้าทายต่อมนุษยชาติในยุคสมัยนี้จึงถือกำเนิดขึ้น
Marketing 5.0 : technology for humanity คือ กลยุทธ์การทำการตลาดที่ผสมผสานแก่นของความเป็นมนุษย์จาก Marketing 3.0 และการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการทางการตลาดจาก Marketing 4.0 เข้าด้วยกันโดย Philip Kotler ได้ให้คำจำกัดความของ Marketing 5.0 ไว้ว่าเป็น “การนำเอาเทคโนโลยีที่มีความสามารถในการเลียนแบบมนุษย์มาใช้ในการสร้าง สื่อสาร ส่งมอบและเสริมคุณค่าให้กับประสบการณ์ของลูกค้าตลอดทุกกระบวนการ”
โดยเนื้อหาหลักของหนังสือเล่มนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนสำคัญ อันได้แก่ Part II ที่ว่าด้วยความท้าทายแห่งยุคสมัยที่นักการตลาดต้องเผชิญหน้า, Part III ที่ว่าด้วยกลยุทธ์การเตรียมความพร้อมให้องค์กรการตลาดสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชั้นสูงได้อย่างเต็มที่ และ Part IV ที่ว่าด้วยองค์ประกอบทั้ง 5 ประการของกลยุทธ์ Marketing 5.0
Part II – Challenges Markerters Face in a Digital World
Chapter 2. Generation Gap : Marketing to Baby Boomers, X, Y, Z and Alpha
ความท้าทายอันดับแรกของนักการตลาดในยุคปัจจุบันก็คือการทำความเข้าใจความแตกต่างของค่านิยมและพฤติกรรมของผู้บริโภคในแต่ละ generation ที่ล้วนได้รับอิทธิพลและประสบการณ์ชีวิตที่แตกต่างกันตามกาลเวลาเพื่อกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดในการสร้างคุณค่าสูงสุดจากผู้บริโภคกลุ่มหลักในยุคปัจจุบันพร้อมๆกับการเตรียมรับมือกับความต้องการที่แตกต่างกันของผู้บริโภคในอนาคต โดยกลุ่มผู้บริโภคในยุคปัจจุบันและอนาคตอันใกล้นี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ตามช่วงปีเกิดได้ดังต่อไปนี้
จากข้อมูลของกลุ่มประชากรข้างต้น จะเห็นได้ว่าถึงแม้ว่ากำลังซื้อในยุคปัจจุบันนั้นยังคงตกอยู่ในมือของ Baby Boomer, Gen X และ Gen Y เป็นหลัก ผู้บริโภครุ่นใหม่อย่าง Gen Z และ Gen Alpha ที่มีความเข้าใจในเทคโนโลยีเป็นอย่างดี มีความต้องการให้แบรนด์ตอบสนองความต้องการแบบเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้นและให้ความสำคัญกับแบรนด์ที่สร้างอิทธิพลเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้นกำลังมีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ การนำเอาแนวคิดของ Marketing 5.0 มาปรับใช้จึงถือเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยสำหรับแบรนด์ที่ต้องการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มใหญ่กลุ่มใหม่นี้ในอนาคต แต่แน่นอน แบรนด์ก็อย่าหลงลืมกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหญ่ที่ยังมีกำลังซื้อที่มากอยู่ในปัจจุบันเช่นเดียวกัน
Chapter 3. Prosperity Polarization : Creating Inclusivity and Sustainability for Society
ความท้าทายลำดับถัดมาของนักการตลาดและองค์กรธุรกิจในยุคปัจจุบันก็คือปัญหาความแตกแยกทางสังคมที่มีจุดเริ่มต้นจากช่องว่างระหว่างกลุ่มคนรวยและกลุ่มคนจนที่ขยายใหญ่ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มชนชั้นบนที่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของธุรกิจและเทคโนโลยีกำลังมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆพร้อมๆกับความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่กลุ่มชนชั้นล่างที่ต้องเผชิญหน้ากับวิกฤติ COVID-19 และการถูกแทนที่โดยเทคโนโลยีกำลังจะต้องเผชิญกับปัญหาในการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ส่วนกลุ่มชนชั้นกลางที่ขยายตัวมาต่อเนื่องในช่วงยุคอุตสาหกรรมก็กำลังค่อยหดตัวลงเรื่อยๆ [บางคนสามารถก้าวขึ้นไปข้างบนได้สำเร็จ แต่หลายๆคนกลับต้องตกลงมาสู่กลุ่มชนชั้นล่าง]
สังคมในโลกยุคปัจจุบันกำลังเกิดการ “แบ่งขั้ว” ครั้งใหญ่ในทุกองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็น
เมื่อความขัดแย้งเชิงโครงสร้างทางสังคมนั้นทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น แบรนด์จึงไม่สามารถหลีกหนีต่อความคาดหวังของผู้บริโภคยุคใหม่และกลุ่มพนักงาน Gen Y และ Gen Z ที่มองว่าองค์กรธุรกิจต้องมีบทบาทสำคัญในการร่วมพัฒนาสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม แบรนด์จึงควรใช้โอกาสนี้ในการวางกลยุทธ์การตลาดที่ยึดเอาหลักการของ inclusivity (ความเท่าเทียมทางโอกาสของคนทุกกลุ่ม เช่น การสร้างความหลากหลายทางเชื้อชาติและการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง) และ sustainability (ความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อม) เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคและมองหาโอกาสในการเติบโตใหม่ๆที่หาได้ยากยิ่งในยุคปัจจุบัน ซึ่ง Philip Kotler ก็ได้แนะนำให้แบรนด์เริ่มต้นจากการหยิบเอาเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goal) ของสหประชาชาติมาใช้เป็นแนวทางในการลงทุนคืนกลับไปให้สังคม
เป้าหมาย SDG ของสหประชาชาติ (ขอบคุณภาพจาก The United Nations)
Chapter 4. Digital Divide : Making Tech Personal, Social and Experiential
ความท้าทายลำดับสุดท้ายขององค์กรและโลกในยุคปัจจุบันก็คือการ “แบ่งแยก” ทางโลกดิจิตอล ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีการคาดการณ์ว่าจำนวนประชากรกว่า 90% ของโลกจะสามารถเข้าถึงโครงข่ายของ internet ได้อย่างสะดวกสบายภายในปี 2030 ที่จะถึงนี้ แต่โลกก็ยังต้องประสบปัญหาความแบ่งแยกกันของระดับการใช้งาน (adoption rate) เทคโนโลยีดิจิตอลที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนทั้งในระดับประเทศ [ประเทศพัฒนาแล้วมีการใช้งานเทคโนโลยีดิจิตอลมากกว่าประเทศกำลังพัฒนาอยู่มาก] และในระดับอุตสาหกรรม [อุตสาหกรรมการเงินและสื่อสารมีการพัฒนาระบบปฏิบัติการแบบดิจิตอลที่ก้าวล้ำกว่าอุตสาหกรรมที่ยังไม่ถูกกระตุ้นให้ปรับตัว เช่น อุตสาหกรรม healthcare และอุตสาหกรรมก่อสร้าง อยู่มาก]
ทั้งนี้ ความกังวลต่อภัยร้ายต่อมนุษยชาติที่อาจเกิดขึ้นได้จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้ adoption rate ของเทคโนโลยีดิจิตอลนั้นยังไม่ถูกกระจายอย่างทั่วถึงเต็มศักยภาพ โดยความกังวัลเหล่านั้นประกอบไปด้วย
แบรนด์ที่ต้องการสร้างความโดดเด่นในโลกดิจิตอลจึงต้องวางกลยุทธ์การตลาดที่สามารถแก้ปัญหาความกังวลต่อเทคโนโลยีเหล่านั้นผ่านการทำความเข้าใจกลไกการทำงานของสมองของมนุษย์เพื่อสร้างคุณค่าที่มากพอให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายตัดสินใจยอมรับการใช้งานเทคโนโลยีดิจิตอลชั้นสูงมากยิ่งขึ้น ซึ่งผู้เขียนได้แนะนำกลยุทธ์สำคัญ 3 ประการ ได้แก่
Part III – New Strategies for Tech-Empowering Marketing
Chapter 5. The Digital-Ready Organization : One Strategy Doesn’t Fit All
วิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ถือเป็น wake-up call ที่เข้ามาเตือนองค์กรธุรกิจทั่วโลกว่าการปฏิรูปองค์กรด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลนั้นถือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือแม้แต่ชะลอความเร็วลงได้อีกต่อไป องค์กรที่จะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนบนโลกในอีกสิบปีข้างหน้าที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่คือกลุ่ม Gen Y และ Gen Z ที่เข้าใจเทคโนโลยีดิจิตอลเป็นอย่างดีและมีความคาดหวังต่อแบรนด์มากขึ้นกว่าเดิมนั้นต้องรีบปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างขีดความสามารถทางดิจิตอลอย่างรวดเร็วที่สุด โดยกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นองค์กรดิจิตอลโดยสมบูรณ์แบบนั้นประกอบไปด้วย 3 กลยุทธ์ ได้แก่
กลยุทธ์ที่ 1. Migrate Customers to Digital Channels : การอพยพลูกค้าที่แต่เดิมอยู่ในโลกออฟไลน์ให้เข้ามาอยู่ในช่องทางดิจิตอลผ่านการสร้างแรงจูงใจให้กับลูกค้าในหลากหลายวิธี อาทิ การให้สิทธิพิเศษสำหรับช่องทางดิจิตอลโดยเฉพาะ โดยองค์กรต้องให้ความสำคัญกับการนำเสนอคุณค่าที่มากกว่าของช่องทางออนไลน์ที่สามารถแก้ความเจ็บปวดของลูกค้าที่เกิดขึ้นในช่องทางออฟไลน์เดิม [อาทิ การไม่ต้องต่อคิวนานอีกต่อไป] และยังคงรักษาคุณสมบัติเด่นของช่องทางแบบออฟไลน์ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ อาทิ การสร้างช่องทางการติดต่อกับพนักงานบริการลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ที่มีเทคโนโลยีทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยให้เป็นไปอย่างสะดวกสบายที่สุด
กลยุทธ์ที่ 2. Build Digital Capabilities : การพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรด้วยการสร้างระบบปฏิบัติการและโครงสร้างพื้นฐานแบบดิจิตอลที่รองรับการเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาลและการใช้งาน AI ในการทำหน้าที่ตัดสินใจแทนมนุษย์ ควบคู่ไปกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลในการพัฒนากระบวนการให้บริการในตลอดทุกจุดสัมผัสของลูกค้าเพื่อสร้างประสบการณ์แบบไร้รอยต่อในทุกช่องทาง (omnichannel) ขององค์กร นอกจากนั้น ภายในองค์กรเองก็ต้องปรับตัวด้วยการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน การว่าจ้างพนักงานสายงานดิจิตอล [data scientist, นักออกแบบโครงสร้างระบบ IT, นักออกแบบ UX/UI และโปรแกรมเมอร์] และยึดหลักการทำงานแบบ agile [รายละเอียดใน Chapter 12.]
กลยุทธ์ที่ 3. Strengthen Digital Leadership : การเสริมความเป็นผู้นำทางด้านดิจิตอลขององค์กรผ่านการนำเอาเทคโนโลยีชั้นสูงมาใช้เพิ่มคุณค่าสูงสุด [รายละเอียดใน Chapter 6.] และการนำเสนอประสบการณ์ของลูกค้าในรูปแบบใหม่ผ่านเทคโนโลยีเหล่านั้น [รายละเอียดใน Chapter 7.]
ทั้งนี้ องค์กรแต่ละองค์กรในแต่ละอุตสาหกรรมนั้นต่างก็มีความพร้อมที่แตกต่างกัน การปฏิรูปองค์กรสู่ยุคดิจิตอลจึงต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจถึงความพร้อมขององค์กรของตัวเองและหยิบเอากลยุทธ์ที่เหมาะสมด้านบนมาปรับใช้ตามบริบทของตัวเอง
Chapter 6. The Next Tech : It’s Time for Human-Like Technologies to Take Off
ในช่วง 1-2 ทศวรรษที่ผ่านมา กลุ่มเทคโนโลยีที่ผู้เขียนเรียกว่าเป็น “เทคโนโลยีกลุ่มถัดไป” [ซึ่งยังไม่ได้รับการใช้งานอย่างกว้างขวางเต็มศักยภาพ] นั้นได้มีการพัฒนาการแบบก้าวกระโดดอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนจากความเพรียบพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการพัฒนาการของเทคโนโลยีเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็น ความเร็วในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาต่อเนื่องมานานหลายสิบปี การพัฒนาซอฟท์แวร์แบบ open source ที่เปิดโอกาสให้ผู้คนร่วมแบ่งปันองค์ความรู้และช่วยกันสรรค์สร้างนวัตกรรม การเข้าถึงของ internet ความเร็วสูงและระบบ cloud computing อย่างกว้างขวาง การเกิดขึ้นของ smartphone ที่นำพาให้คอมพิวเตอร์สามารถเดินทางไปได้ทุกหนทุกแห่งและการเติบโตของจำนวนข้อมูลอันมหาศาล (big data) ที่เอื้อต่อการนำไปใช้ประโยชน์อีกมากมาย
เพื่อไม่ให้เป็นการพลาดโอกาสที่กำลังจะมาถึงของคลื่นแห่งเทคโนโลยีระลอกใหม่ องค์กรมีความจำเป็นในการกำหนดยุทธศาสตร์ทางการตลาดแบบ Marketing 5.0 เพื่อนำเอาเทคโนโลยีชั้นสูงที่มีความสามารถในการเลียนแบบมนุษย์มาเสริมประสบการณ์ของลูกค้าในตลอดทุกกระบวนการ ดังนั้น นักการตลาดทุกท่านจึงต้องเริ่มทำความเข้าใจกับเทคโนโลยีแห่งอนาคตที่กำลังมาแรงทั้ง 7 เทคโนโลยี ดังต่อไปนี้
IKEA ใช้เทคโนโลยี AR ช่วยจำลองเฟอร์นิเจอร์ขนาดจริงในบ้านของลูกค้า (ขอบคุณภาพจาก IKEA)
Chapter 7. The New CX : Machines Are Cool, but Humans Are Warm
ในยุคที่ผลิตภัณฑ์และการบริการของแบรนด์ต่างๆเริ่มหาความแตกต่างกันได้ยากมากขึ้นเรื่อยๆ การมอบประสบการณ์ (customer experience หรือ CX) ที่ยอดเยี่ยมและน่าประทับใจที่สุดตลอดทุกจุดสัมผัส (touch point) ระหว่างลูกค้ากับแบรนด์นั้นกลายมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างฐานลูกค้าที่เข้มแข็งและการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืนในโลกภายภาคหน้า
หลักการ “5A’s customer path” หรือ เส้นทางของลูกค้าที่ถูกนำเสนอในหนังสือ Marketing 4.0 ได้ฉายภาพการเดินทางและความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ในโลกดิจิตอลตลอดกระบวนการสำคัญ 5 กระบวนการ อันประกอบไปด้วย
แบรนด์ในยุค Marketing 5.0 ต้องให้ความสำคัญกับการนำเอาเทคโนโลยี The Next Tech [รายละเอียดใน Chapter 6.] มาสรรค์สร้างประสบการณ์ที่เหนือระดับตลอดเส้นทางของลูกค้าโดยใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติเด่นของเทคโนโลยีเหล่านั้น ได้แก่ ความรวดเร็วในการประมวลผลข้อมูล การทำงานแบบอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง ความแม่นยำและการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาล ในขณะเดียวกัน แบรนด์ก็ยังต้องรักษา “ความเป็นมนุษย์” อย่าง ความเข้าอกเข้าใจ ความยืดหยุ่น ความคิดสร้างสรรค์และการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของประสบการณ์ของลูกค้าให้ยังคงอยู่และเสริมประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างคอมพิวเตอร์และพนักงานที่เป็นมนุษย์ (human-machine collaboration) ซึ่งมี use case หลักอยู่ 7 กลุ่ม ได้แก่
หน้าจอแบบ dynamic content สำหรับลูกค้าแต่ละคนโดยเฉพาะของ Netflix (ขอบคุณภาพจาก Netflix)
Part IV – New Tactics Leveraging Marketing Tech
Chapter 8. Data-Driven Marketing : Building a Data Ecosystem for Better Targeting
องค์ประกอบลำดับที่ 1 ที่เป็นดั่งพื้นฐานของกลยุทธ์ Marketing 5.0 ก็คือ การทำการตลาดที่อาศัย “ข้อมูล” เป็นตัวการขับเคลื่อนการตัดสินใจ (data-driven) ต่างๆของแบรนด์ผ่านการใช้ AI ในการประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดของการตัดสินใจตามวัตถุประสงค์ต่างๆ อาทิ การแนะนำผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าแต่ละคนมีโอกาสซื้อมากที่สุด การกำหนดราคาที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าในช่วงเวลานั้นๆและการคัดเลือกลูกค้าที่มีศักยภาพในการซื้อสินค้าสูงที่สุด เป็นต้น
ซึ่งหนึ่งใน use case สำคัญของ data-driven marketing ก็คือ “segment of one” หรือการจัดกลุ่มลูกค้าเป็นรายบุคคล [ซึ่งแต่เดิมการทำ segmentation นั้นมักแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆตาม 4 แนวทางหลัก ได้แก่ geographic (การแบ่งตามพื้นที่อยู่อาศัย), demographic (การแบ่งตามลักษณะของลูกค้า เช่น เพศ อายุ อาชีพ รายได้และสถานะครอบครัว), psychographic (การแบ่งตามความสนใจและแรงจูงใจ) และ behavioral (การแบ่งตามพฤติกรรม)] ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการที่ผู้บริโภคเริ่มทิ้งข้อมูลในโลกดิจิตอลในจำนวนที่มากขึ้นเรื่อยๆผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ จุดสัมผัสกับแบรนด์โดยตรง, social network, เว็ปไซต์ต่างๆและอุปกรณ์ IoT ต่างๆ ประกอบกับการที่เทคโนโลยีอย่าง AI นั้นสามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลเหล่านั้นได้พร้อมๆกันอย่างรวดเร็วจนทำให้แบรนด์สามารถทำความเข้าใจลูกค้าแต่ละรายได้อย่างละเอียดมากยิ่งขึ้นพร้อมๆกับการนำข้อมูลของลูกค้าเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดตลอดเส้นทางของลูกค้าแต่ละคน ยิ่งไปกว่านั้น การทำ segmentation ด้วย AI แบบอัตโนมัตินั้นยังเปิดโอกาสให้แบรนด์สามารถติดตามและอัพเดทสถานะ segment ของลูกค้าได้แบบ real time ตามบริบทของลูกค้า ณ ขณะนั้น [ผู้บริหารบริษัทอาจเลือกนั่ง business class เวลาทำงานแต่เลือกนั่ง economy class เวลาไปเที่ยวกับครอบครัว]
โดยหลักการในการทำ data-driven marketing ให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุดนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่
#1 Define the data-driven marketing objectives : การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนของการนำเอาข้อมูลมาใช้ในการทำการตลาด โดยนักการตลาดจะต้องเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานที่ทำหน้าที่พัฒนาโครงสร้างของการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล นอกจากนั้น นักการตลาดก็ควรเลือกให้ความสำคัญกับโครงการที่มีโอกาสสำเร็จสูงอย่างรวดเร็ว (quick-win) ก่อน
#2 Identify data requirements and availability : การประเมินข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ตามวัตถุประสงค์ในข้อที่หนึ่งเพื่อให้ทีมงานสามารถออกแบบโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลที่เหมาะสมและไม่สะเปะสะปะ
#3 Build an integrated data ecosystem : การสร้างศูนย์กลางการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลที่เชื่อมต่อฐานข้อมูลทั้งหมดของแบรนด์เข้าไว้ด้วยกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อใช้เป็น platform ในการทำโครงการด้านการตลาดใหม่ๆต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ นักการตลาดเองก็ควรทำความเข้าใจถึงข้อจำกัดของการวิเคราะห์ข้อมูลของเทคโนโลยี AI ที่ยังต้องอาศัยมนุษย์ในการกำหนดวัตถุประสงค์ การตีความผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลและการนำเอา insight เหล่านั้นไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะว่าระบบ AI ในยุคปัจจุบันนั้นยังทำงานแบบ autopilot เหมือนในภาพยนตร์ sci-fi ไม่ได้ [แต่อีก 20 ปีข้างหน้าก็ไม่แน่]
Chapter 9. Predictive Marketing : Anticipating Market Demand with Proactive Action
องค์ประกอบลำดับที่ 2 ของกลยุทธ์ Marketing 5.0 ที่เป็นการต่อยอดจาก data-driven marketing ก็คือ การทำการตลาดที่อาศัยข้อมูลจำนวนมหาศาลมาใช้ในการ “พยากรณ์” ผลลัพท์ของกลยุทธ์การตลาดในอนาคต ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แนวทางหลัก อันประกอบไปด้วย
ทั้งนี้ วิธีการในการสร้างโมเดลสำหรับการพยากรณ์นั้นมีหลากหลายรูปแบบมาก ยกตัวอย่างเช่น
ตัวอย่างหน้าจอแนะนำสินค้าของ Amazon (ขอบคุณภาพจาก Amazon)
Chapter 10. Contextual Marketing : Making a Personalized Sense-and-Respond Experience
องค์ประกอบลำดับที่ 3 ของกลยุทธ์ Marketing 5.0 ก็คือ การทำการตลาดแบบ personalization ตาม “บริบท” ของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ลักษณะทางประชากรศาสตร์ (เพศ อายุ อาชีพและสถานะ) ตำแหน่งที่ตั้ง อารมณ์ โอกาสสำคัญ ช่วงเวลา ไปจนถึงสภาพอากาศภายนอก เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ การบริการหรือแคมเปญทางการตลาดที่ตอบโจทย์กับลูกค้า ณ ขณะนั้นมากที่สุด
ซึ่งแต่เดิมการทำการตลาบแบบ contextual marketing ในโลกออฟไลน์นั้นต้องอาศัยนักการตลาดหรือพนักงานขายฝีมือดีผู้มากประสบการณ์เป็นคนคอยทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าแต่ละคนอย่างลึกซึ้งเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตรงใจกับลูกค้าในขณะนั้นมากที่สุด แต่ในโลกยุคปัจจุบันนี้ ความก้าวล้ำของเครือข่ายเทคโนโลยี AI, IoT และ sensor tech ที่เชื่อมต่อเข้าหากันอย่างสมบูรณ์นั้นเริ่มมีความสามารถในการสร้างประสบการณ์แบบ personalization ที่เชื่อมต่อ insight จากโลกดิจิตอลเข้ากับจุดสัมผัสในโลกออฟไลน์แบบไร้รอยต่อได้อย่างอัตโนมัติโดยแทบไม่ต้องพึ่งพามนุษย์แต่อย่างใด [ทั้งนี้ การบริการโดยพนักงานที่เป็นมนุษย์ก็ยังสามารถได้ประโยชน์จากข้อมูลส่วนเพิ่มที่ตรวจจับได้ เช่น อารมณ์ของลูกค้าและข้อมูลพฤติกรรมในอดีตของลูกค้าที่ลงทะเบียนใน application ของแบรนด์]
โดยการทำการตลาดแบบ contextual marketing ที่ผสานโลกออนไลน์และออฟไลน์เข้าไว้ด้วยกัน (omni-channel) เพื่อนำเสนอคุณค่าที่ตรงตามบริบทของลูกค้าที่สุดนั้นมีแนวทางสำคัญ 3 แนวทาง ดังต่อไปนี้
นอกจากนั้น การทำการตลาดแบบ contextual marketing ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับตามประสบการณ์ของลูกค้า ได้แก่
#1 Personalized information : การให้ข้อมูลที่ตรงตามบริบทของลูกค้าแต่ละคนมากที่สุด อาทิ การโฆษณาและการแนะนำผลิตภัณฑ์หรือการบริการสำหรับลูกค้าคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ
#2 Customized interaction : การสร้างประสบการณ์ที่ลูกค้าสามารถโต้ตอบกับแบรนด์ได้อย่างตรงตามบริบทที่ลูกค้าต้องการมากที่สุด อาทิ การทำ gamification ของ Shopkick ที่ให้รางวัลกับลูกค้าเมื่อลูกค้าทำภารกิจต่างๆสำเร็จ เช่น การ check-in ในร้านค้าที่ร่วมรายการและการสแกนบาร์โค้ดของผลิตภัณฑ์เพื่อเรียนรู้รายละเอียดเพิ่มเติม
#3 Total immersion : การสร้างประสบการณ์แบบไร้รอยต่อระหว่างโลกออนไลน์และโลกออฟไลน์ให้กับลูกค้า อาทิ ห้องลองเสื้ออัจฉริยะของ Ralph Lauren ที่มีกระจกแบบดิจิตอลที่คอยตรวจจับเสื้อผ้าที่ลูกค้านำเข้ามาในห้องลองเสื้อเพื่อแสดงผลในหน้าจอเพื่อให้ลูกค้าจำลองการใส่เสื้อผ้าเหล่านั้นในสีและขนาดต่างๆได้อย่างสะดวกสบาย
Smart Fitting Room ของ Ralph Lauren (ขอบคุณภาพ Business Insider)
Chapter 11. Augmented Marketing : Delivering Tech-Empowered Human Interaction
องค์ประกอบลำดับที่ 4 ของกลยุทธ์ Marketing 5.0 ก็คือ การทำการตลาดที่นำเอาขีดความสามารถของเทคโนโลยีมาใช้ “เสริมขีดความสามารถ” ของพนักงานที่เป็นมนุษย์ในสายงานหรืออุตสาหกรรมที่ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์นั้นยังสร้างคุณค่าที่เหนือชั้นกว่าการใช้งานเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวอยู่มาก ซึ่งการทำการตลาดแบบ augmented marketing นั้นมีแนวทางหลักอยู่ 3 แนวทางอันได้แก่
Chapter 12. Agile Marketing : Executing Operations at Pace and Scale
องค์ประกอบลำดับสุดท้ายของกลยุทธ์ Marketing 5.0 ที่ถือพื้นฐานสำคัญที่ช่วยส่งเสริมองค์ประกอบอื่นๆก็คือ การทำการตลาดด้วยความเร็วแบบ “agile” ที่เริ่มมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆในโลกที่ความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและวงจรการพัฒนาผลิตภัณฑ์สั้นลงกว่าเดิมมากจนรูปแบบการทำการตลาดแบบเดิมที่กินระยะเวลานานไม่สามารถตอบโจทย์ตลาดได้อีกต่อไป ดังนั้น องค์กรจึงต้องวางรากฐานของ agile marketing ที่ประกอบด้วย 6 ส่วนสำคัญ ได้แก่
<<< ติดตาม [สรุปหนังสือ] เล่มอื่นๆต่อได้ทางนี้เลยครับ [CLICK] >>>
<<< ที่สำคัญ อย่าลืมกดไลค์ Panasm’s Facebook Page เพื่อติดตามอัพเดทใหม่ๆของผมนะครับ [CLICK] >>>
<<< ปิดท้าย สิ่งที่ผมทำสรุปมานั้นเป็นเพียงแค่เนื้อหาส่วนที่ผมสนใจที่สุดของหนังสือเล่มนี้ สำหรับเพื่อนๆที่ถูกใจสรุปของหนังสือเล่มนี้ อย่าลืมซื้อหนังสือเล่มเต็มและอุดหนุนผู้เขียนกันด้วยนะครับ ขอบคุณที่ติดตามครับผม >>>
ประเภทอาหาร: Western Comfort Food คะแนนรีวิว: ★★★★ [...]
ประเภทอาหาร: Modern French คะแนนรีวิว: ★★★★★ [...]
by Yuval Noah Harari [...]
ประเภทอาหาร: Modern European with Asian Accents คะแนนรีวิว: ★★★★★ [...]
ประเภทอาหาร: Thai Seafood คะแนนรีวิว: ★★★ [...]
ประเภทอาหาร: Authentic Thai คะแนนรีวิว: ★★★★★ [...]