[สรุปหนังสือ] The Algebra of Wealth : A Simple Formula for Financial Security (2024)
by Scott Galloway
“Happiness isn’t having what you want, it’s wanting what you’ve got.”
ระบบเศรษฐกิจแบบ “ทุนนิยม” คือ ระบบเศรษฐกิจที่สร้างผลิตภาพได้สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ แต่ขณะเดียวกันก็สร้างความเหลื่อมล้ำทางความมั่งคั่งระหว่างชนชั้นในสังคมที่นับวันก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นจากความที่ทุนนิยมนั้นให้ความได้เปรียบแก่มหาเศรษฐีและองค์กรขนาดใหญ่มากกว่าคนธรรมดาและนักนวัตกรรมที่ไร้เงินทุน แต่เมื่อเราทุกคนต้องเติบโตในโลกที่ระบบทุนนิยมเป็นใหญ่และคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในเร็ววันนี้ การทำความเข้าใจกฏเกณฑ์และแนวทางในการสร้างความมั่งคั่งบนระบบทุนนิยมนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ
The Algebra of Wealth คือ คัมภีร์ในการสร้าง “ความมั่งคั่ง (wealth)” ในโลกทุนนิยมยุคปัจจุบันโดยฝีมือของ Scott Galloway ศาสตราจารย์ด้านการตลาดปากจัดแห่ง NYU เจ้าของหนังสือแนววิจารณ์ธุรกิจอย่าง The Four และ Post Corona ที่กลั่นกรองแนวคิดในการสร้างความมั่งคั่งออกมาเป็นสมการ “WEALTH = FOCUS + (STOICISM x TIME x DIVERSIFICATION)” โดยมีเป้าหมายในการสร้าง “ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (economic security)” ที่รายได้จากการลงทุน (passive income) มีมากกว่ารายจ่ายที่เราแต่ละคนต้องการที่จะใช้จ่าย โดยความมั่นคงทางการเงินที่เกิดขึ้นนี้จะช่วยสร้างอิสรภาพในการเลือกใช้ชีวิตและการเลือกทำงานที่มีความหมายได้อย่างแท้จริงโดยปราศจากความเครียดในการต้องหาเงินที่แทบทุกคนต้องเผชิญอยู่ในทุกๆวัน
โดยองค์ประกอบทั้ง 4 ของสมการด้านความมั่งคั่งของ Scott Galloway นั้นก็มีความหมายดังนี้
ขอเชิญทุกท่านอ่านสรุปหนังสือคัมภีร์ด้านความมั่งคั่งเล่มนี้ที่มีประเด็นที่สดใหม่จากผู้เขียนที่ผมชอบมากที่สุดคนหนึ่งเพื่อสร้างความมั่งคงทางการเงินและความสุขในการใช้ชีวิตบนโลกแบบทุนนิยมยุคใหม่นี้กันได้เลยครับ
ศาสตารจารย์ Scott Galloway (source: Ted.com)
1 | STOICISM
Character and Behavior
อุปสรรคใหญ่ที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มนุษย์ไม่สามารถไปถึงเป้าหมายของตัวเองได้ก็คือการมีช่องว่างระหว่างสิ่งที่ตั้งใจจะทำ (intention) และสิ่งที่ทำจริงๆ (action) ที่มนุษย์มักรู้ว่าตัวเองนั้นควรต้องทำอะไรบ้างตามคุณค่าที่ตัวเองยึดมั่นแต่กลับไม่สามารถควบคุมตัวเองให้ลงมือทำสิ่งเหล่านั้นได้ ซึ่ง Scott Galloway ก็ได้นำเสนอแนวคิดแบบ Stoicism ซึ่งเป็นปรัชญากรีกในการดำเนินชีวิตอย่างมุ่งมั่นและอดทนในสิ่งที่ควบคุมได้ โดยอาศัยกระบวนการสร้างตัวตน (character) ที่นำมาสู่พฤติกรรม (behavior) ในแบบที่ต้องการผ่านคุณค่าสำคัญ 4 ประการ ได้แก่
โดยการพัฒนาตัวตน (character) นั้นก็มีแนวทางเฉกเช่นเดียวกับการพัฒนานิสัย (habit) ที่มีเป้าหมายสูงสุดคือการพัฒนาให้ “การตัดสินใจแบบอัตโนมัติ (automatic response) โดยไม่ได้ตั้งใจนึกคิดทั้งหมดของเรานั้นตรงกับการตัดสินใจของเราในกรณีที่มีเวลาไตร่ตรองก่อนเสมอ“ เพราะสาเหตุสำคัญที่ทำให้มนุษย์ลงมือทำในสิ่งที่ไม่ตรงกับคุณค่าของตัวเองก็คือการใช้ชีวิตแบบอัตโนมัติตามการตัดสินใจตามสัญชาตญาณเพื่อความอยู่รอดระยะสั้นตั้งแต่ยุคหินที่มีบริบทไม่ตรงกับในยุคปัจจุบันแล้ว ดังนั้น การเริ่มฝึกพัฒนาตัวตนจึงสามารถทำได้ด้วยการฝึก “ชะลอการตัดสินใจแบบอัตโนมัติลงและเพิ่มช่องว่างให้เวลาไตร่ตรองในการตัดสินใจอย่างตั้งใจต่อการกระทำของตัวเองเป็นระยะๆ” ที่จะค่อยๆปรับให้การตัดสินใจแบบอัตโนมัติทั้งหมดนั้นตรงกับคุณค่าและตัวตนที่ต้องการเป็นมากขึ้นเรื่อยๆในทุกๆวัน
Building a Strong Character
ผู้เขียน Scott Galloway ได้กลั่นกรองประสบการณ์ชีวิตของตัวเองออกมาเป็นแนวคิดในการพัฒนาตัวตนอย่างมีคุณค่า ดังต่อไปนี้
Building a Strong Community
นอกจากการสร้างตัวตนที่แข็งแกร่งแล้ว ผู้ที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตยังมักลงทุนและสามารถสร้างคุณค่าทั้งการได้รับและการให้จากผู้คนและสังคมรายรอบที่พึ่งพาอาศัยกันและกันอยู่เสมอ โดย Scott Galloway ก็ยกแนวคิดสำคัญดังต่อไปนี้
2 | FOCUS
Balance
“โฟกัส” คือ การใช้ชีวิตด้วยความมุ่งมั่นต่อเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อลงแรงและลงเวลาในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจที่ต้องอาศัยความหมั่นเพียรในการทำงานและการเลือกใช้ชีวิตเป็นระยะเวลายาวนานกว่าที่จะประสบผลสำเร็จ
โดยการมีโฟกัสที่ดีนั้นจำเป็นต้องรักษา “สมดุล” ในการใช้ชีวิตและการทำงานที่ต้องเริ่มต้นจากการ “ยอมรับว่าการทำงานหนักอย่างชาญฉลาดนั้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ“ สู่การประสบความสำเร็จทางการเงินและพยายามรักษาสมดุลของการใช้ชีวิตผ่านการเลือกวิถีในการทำงานที่เหมาะสมที่สุด อาทิ การทำงานในบริษัทที่หากพัฒนาความสามารถในการบริหารคนได้ดีก็จะมีความยืดหยุ่นในการทำงานที่มากขึ้นจากการทำงานผ่านทีมงานที่เก่งๆแทน หรือ การเลือกคู่ครองที่ดีที่สามารถตกลงความรับผิดชอบทางบ้านได้อย่างเหมาะสมกับการทำงาน โดยการไม่ยอมรับในความจำเป็นที่จะต้องทำงานหนักนั้นก็มีแต่จะสร้างความไม่พอใจในชีวิตที่นำมาสู่ปัญหาทั้งด้านความสุขและประสิทธิภาพของการทำงานในท้ายที่สุด
Don’t Follow Your Passion
ความเชื่อในการเลือกทำในสิ่งที่รักนั้นถูกต้องสำหรับกลุ่มคนเพียงแค่หยิบมือที่มีความสามารถที่โดดเด่นอย่างแท้จริง (talent) เท่านั้น เพราะคนส่วนใหญ่นั้นยังไม่รู้จริงๆว่าตัวเองมี passion อะไรและ passion ของผู้คนที่พอรู้แล้วก็มักเกิดจากการสั่งสมบ่มเพาะจากค่านิยมของสังคมรอบข้าง อาทิ Youtuber, นักแสดง, นักร้อง, นักกีฬาและดีไซเนอร์แบรนด์หรู ซึ่งแล้วแต่จะมี supply มากกว่า demand มากจนทำให้อัตราความสำเร็จของงานเหล่านี้นั้นต่ำมากๆและทำให้คนส่วนใหญ่ที่เลือกสายงานนี้มักมีรายได้ไม่เพียงพอและถูกเอาเปรียบเสมอ (อาทิ Chanel ที่รับเด็กฝึกงานแบบไม่ต้องจ่ายเงินแม้แต่ค่าแรงขั้นต่ำ) นอกจากนั้น การเปลี่ยนเอา passion ที่มีมาใช้หาเงินยังมีโอกาสให้เราเกลียด passion นั้นๆในเวลาต่อมา
ดังนั้น จงเลือกทำงานตามความสามารถที่เราทำได้อย่างโดดเด่นจริงๆ (talent) ส่วน passion นั้นก็เก็บไว้ตามหาในวันหยุดแทน
Follow Your Talent
Scott Galloway นิยาม “Talent” ว่า “ความสามารถที่ตัวเองทำได้อย่างยอดเยี่ยมแต่คนอื่นนั้นทำได้อย่างยากลำบากหรือทำไม่ได้เลย” ซึ่งมนุษย์แต่ละคนนั้นก็ล้วนมี talent ที่แตกต่างกัน โดยการมองหา talent ของตัวเองนั้นก็ควรเริ่มต้นตั้งแต่วัยเรียนและวัยทำงานใหม่ๆด้วยการทดลองทำอะไรหลายๆอย่างเพื่อวิเคราะห์ตัวเองดูว่าอะไรที่ทำได้ดีและอะไรที่ทำไม่ได้ดีเท่าผู้อื่น โดยผู้ที่หมั่นทำความเข้าใจถึงปัจจัยของความสำเร็จและความล้มเหลวของตัวเองก็มักมองหาจุดอ่อนและจุดแข็งที่สามารถต่อยอดเป็น talent ของตัวเองได้ดีกว่า นอกจากนั้น การทำ personality test อย่าง Myers-Briggs หรือ Gallup’s CliftonStrengths ก็สามารถช่วยให้เราเข้าใจตัวเองมากยิ่งขึ้น
เมื่อเราหา talent ของเราเจอและลงมือทำงานที่มี “match quality” หรือ “ความเหมาะสมระหว่างงานและ talent” สูงแล้ว เมื่อนั้นความก้าวหน้าของการทำงานและรายได้ก็จะเพิ่มพูนขึ้น โดยเมื่อเราพัฒนา talent อย่างมุ่งมั่นไปถึงจุดของการเป็น ”ผู้เชี่ยวชาญ (mastery)“ ที่โดดเด่นกว่าแทบทุกคนในสายงานนั้นๆแล้ว เมื่อนั้นเราก็จะหลงใหลและเปลี่ยนให้ talent กลายมาเป็น passion ได้ในที่สุดเช่นกัน
Career Options
เมื่อเราเข้าใจใน talent และความต้องการด้านการเงินของตัวเองแล้ว เมื่อนั้นก็ถึงเวลาเลือกสายอาชีพที่เหมาะสมที่ทั้งตอบโจทย์และพร้อมที่จะเติบโตไปกับเราทั้งในด้านศักยภาพ ชีวิตและรายได้ โดย Scott Galloway แนะนำให้ทุกคนทำการศึกษาถึงชีวิตประจำวันและกลไกในการสร้างรายได้ของแต่ละสายอาชีพอย่างเข้าใจชัดเจนถึงสิ่งที่ต้องยอมแลกกับโอกาสในการเติบโตและโอกาสในการสร้างรายได้ตามที่ตัวเองต้องการ พร้อมกับคำแนะนำสำคัญอื่นๆ ดังต่อไปนี้
Best Practices
Scott Galloway ยังแนะนำแนวทางการเลือกใช้ชีวิตและการทำงานที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลดี ดังต่อไปนี้
3 | TIME
The Power of Time : Compounding
“เวลา” คือ ทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดและเท่าเทียมกันที่สุดของมนุษย์ทุกคนบนโลก การบริหารจัดการเวลาอย่างมีแบบแผนจึงถือเป็นการลงทุนที่สำคัญเพื่อสร้างความมั่งคงทางการเงินและความสุขในอนาคต โดยมนุษย์ทุกคนจำเป็นที่จะต้องเลือกระหว่างการยอมลดความสบายเพื่อตั้งมั่นทำงานหนักอย่างชาญฉลาดในปัจจุบันกับการเลือกสบายในตอนนี้แต่อาจจะต้องลำบากหรือไม่เป็นอย่างที่ฝันในวัยเกษียณ
โดยเวลานั้นก็มีพลังที่เป็นดั่งตัวช่วยให้กับผู้ที่มีการวางแผนทางการเงินที่ดีอย่าง “อัตราดอกเบี้ยทบต้น (compound interest)” ที่ผลตอบแทนจากการลงทุนในปีหนึ่งถูกทบกลายมาเป็นทุนที่ช่วยสร้างผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นในปีถัดๆไป โดยหากคนวัย 25 ปีลงทุนปีละ 120,000 บาทด้วยอัตราผลตอบแทนที่ 8% ทุกปี เขาจะมีเงิน 25,000,000 บาทในวัย 65 ปี (จากทุน 120,000 x 40 = 4,800,000 บาท) ขณะที่หากอีกคนเริ่มลงทุนจำนวนเท่ากันในวัย 45 ปีจะมีเงินเพียง 5,000,000 บาท (จากทุน 120,000 x 20 = 2,400,000 บาท) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเก็บออมเพื่อลงทุนตั้งแต่เนิ่นๆนั้นช่วยเพิ่มความมั่งคั่งในวัยเกษียณได้อย่างมหาศาลเป็นหลายเท่าตัว
แต่ขณะเดียวกัน ดอกเบี้ยทบต้นก็มีศัตรูตัวฉกาจอย่าง “อัตราเงินเฟ้อ” ที่คอยบั่นทอนให้มูลค่าของเงินในปัจจุบันนั้นลดลงในอนาคต โดยหากเงินเฟ้อคงที่อัตรา 3% ต่อปี เงิน 1,000,000 บาทในปัจจุบันจะมีมูลค่าจริงเพียง 412,000 บาทเท่านั้น ดังนั้น หากคุณอยากเกษียณใน 30 ปีข้างหน้าและต้องการใช้เงินซื้อของในมูลค่าปัจจุบันที่ 1,000,000 บาทต่อปี คุณจะต้องเตรียมแผนทางการเงินให้มีเงินใช้อย่างน้อย 2,000,000 ถึง 2,500,000 บาทต่อปีในอนาคตและต้องเลือกที่จะลงทุนในสินทรัพย์ที่มีอัตราผลตอบแทนที่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้มากพอ
Now
เมื่อเวลาคือทรัพยากรที่สำคัญที่สุด เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเริ่มต้นสร้างความมั่งคั่งทางการเงินก็หนีไม่พ้น “ตอนนี้” ที่ต้องเริ่มทำทันที โดยยิ่งคุณอายุน้อยเท่าไหร่ คุณก็มีเวลามากยิ่งขึ้นในการฝึกฝนการวางแผนทางการเงินที่ดี โดยเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจต้นทุนของเวลาว่าหากคุณมีเวลามากขึ้น 1 ชั่วโมงที่คุณสามารถใช้ในการทำงานหรือทำในสิ่งที่มีความหมายในชีวิตจริงๆ คุณจะตีมูลค่าของเวลานั้นเป็นเท่าไหร่และเริ่มต้นบริหารจัดการเวลาที่เสียไปอย่างเปล่าประโยชน์ อาทิ การใช้ app สั่งซื้อสินค้าแทนการเสียเวลาเดินทางไปซื้อด้วยตัวเอง หรือ การลดการใช้งาน social media เพื่อเอาเวลาไปสร้างความสัมพันธ์ที่ช่วยเพิ่มความสุขได้มากกว่า เมื่อคุณมีเวลาอันมีประสิทธภาพแล้ว เมื่อนั้นก็ควรเริ่มบริหารจัดการด้านการเงินตั้งแต่ตอนนี้โดย Scott Galloway ก็แนะนำแนวคิด ดังต่อไปนี้
The Future
ถึงแม้ว่าการวางแผนทางการเงินนั้นมักเริ่มต้นจากการตั้งเป้าหมายในอนาคต แต่ก็จงอย่าลืมว่าเป้าหมายของทุกคนมักเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาเสมอและไม่ควรที่จะผูกมัดตัวเองเข้ากับเป้าหมายที่เราเริ่มไม่ต้องการมันอีกต่อไปแล้ว นอกจากนั้น ความไม่แน่นอนนั้นคือสิ่งที่แน่นอนในอนาคต ดังนั้น การมี character ที่พร้อมปรับตัวล้มแล้วลุกจึงสำคัญอย่างมากต่ออนาคตของเราทุกคน
การวางแผนทางการเงินที่ดีนั้นต้องรักษาสมดุลระหว่างความสุขของชีวิตในปัจจุบันและความสุขในอนาคต หากคุณต้องทนทุกข์ทรมานนาน 40 ปีเพื่อเกษียณให้ได้ตามเป้าหมาย คุณคิดว่าคุณจะชอบตัวตนของคุณในตอนนั้นจริงๆหรือเปล่า
4 | DIVERSIFICATION
Basic Principles of Investing
น้อยคนในโลกนี้ที่สามารถสร้างความมั่งคั่งได้จากการทำงานเพียงอย่างเดียว หากคุณไม่ใช่ CEO ของบริษัทใหญ่ๆและดารานักแสดงชื่อดังเบอร์ต้นๆของประเทศหรือไม่ได้เกิดมาบนกองเงินกองทอง หนทางแห่งการสร้างความมั่งคงทางการเงินก็คือการเปลี่ยนเงินเก็บเป็น “ทุน (capital)” และเริ่มทำการลงทุนเพื่อให้เงินทำงานแทนเรา
หลักการในการเริ่มต้นลงทุนแบบ 101 เลยก็คือการทำความเข้าใจสมดุลระหว่าง “ความเสี่ยง (risk)” และ ”ผลตอบแทน (return)” ที่ผลตอบแทนจำเป็นต้องสูงขึ้นหากการลงทุนมีความเสี่ยงที่มากขึ้น โดยการเลือกลงทุนตามความเสี่ยงและผลตอบแทนนั้นก็สามารถแบ่งแนวทางการลงทุนออกเป็น 2 มิติ ได้แก่
โดย Scott Galloway ได้แนะนำให้คนทั่วไปที่ไม่ได้มีความชำนาญการทางการลงทุนเลือกลงทุนแบบ Passive ในพอร์ตโฟลิโอแบบ Diversification ที่ให้ผลตอบแทนที่สูงและแปรปรวนน้อยในระยะยาว แทนการเลือกลงทุนแบบ Active ที่คนส่วนใหญ่มักไม่สามารถเอาชนะตลาดได้จริงและแบบ Concentration ที่มีโอกาสเสี่ยงที่พอร์ตโฟลิโอทั้งหมดจะพังครืนลงมา (Scott Galloway ยกตัวอย่างว่าหากคุณลงทุนเงินทั้งหมดในหุ้น Apple และอยู่ๆประเทศจีนประกาศบุกยึดไต้หวันในวันที่ Tim Cook เลือกเกษียณอายุพอดี พอร์ตโฟลิโอของคุณก็อาจพังทลายไปเลย)
The Capitalist’s Handbook
นักลงทุนมือใหม่ควรทำความเข้าใจหลักการพื้นฐานของระบบทุนนิยมที่ Scott Galloway ให้นิยามว่าเป็นระบบที่เปิดให้มนุษย์สามารถแลกเปลี่ยน “เวลา” เป็น “เงิน” ได้ผ่านการทำงานและนำเอาเงินนั้นมาแลกเปลี่ยนเป็น “สินค้า” ที่ต่างก็เกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนเวลาและเงินของมนุษย์คนอื่นๆ โดยกลไกตลาดที่กำหนดราคาของสินค้าแต่ละชนิดนั้นก็ขึ้นอยู่กับ ”อุปสงค์ (demand)” และ “อุปทาน (supply)” ที่หากความต้องการสินค้านั้นมีมากกว่าปริมาณที่มีอยู่ก็มักจะทำให้ราคาสินค้าพุ่งสูงขึ้นและตลาดก็จะค่อยๆเคลื่อนตัวไปยังจุดสมดุลที่ demand และ supply มีใกล้เคียงกันเพราะเมื่อสินค้าราคาแพงมีความต้องการมากก็จะก่อให้เกิดผู้เล่นในตลาดมากขึ้นจนทำให้มีปริมาณสินค้าที่เพียงพอหรือเมื่อสินค้ามีความต้องการลดลงก็มักมีราคาถูกลงและทำให้ผู้เล่นบางส่วนเลิกผลิตสินค้าไปจนมีปริมาณสมดุลกับความต้องการในที่สุด (โดยหากตลาดมีความเฉื่อยในการเข้าสู่สมดุลก็มักเกิดโอกาสในการ arbitrage ที่เป็นการซื้อสินค้าในตลาดหนึ่งที่มีราคาถูกไปขายในอีกตลาดที่ยอมซื้อในราคาที่แพงกว่า ซึ่งการ arbitrage นี้จะเป็นตัวเร่งให้ตลาดเข้าสู่สมดุลเร็วขึ้น)
กลไกตลาดของระบบทุนนิยมนั้นก็ถูกขับเคลื่อนโดยตลาดการเงินที่เปิดโอกาสให้ผู้คนแลกเปลี่ยนเงินมาเป็นทุนเพื่อปล่อยกู้หรือลงทุนให้กับผู้อื่นที่พร้อมนำทุนเหล่านั้นไปสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้กับเจ้าของทุนได้ ซึ่งการลงทุนในลักษณะนี้ก็จะทำให้ตลาดทุนมีขนาดใหญ่ขึ้นเพราะเงินถูกนำมาใช้เป็นทุนที่สร้างผลตอบแทนที่มากขึ้นและทำให้ระบบทุนนิยมสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาวอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้นักลงทุนก็ต้องทำความเข้าใจความสำคัญของผู้เล่นหลักในตลาดทุน 3 ประเภท ได้แก่
อีกหนึ่งองค์ความรู้สำคัญของการลงทุนก็คือการทำความเข้าใจความแตกต่างของ “ราคา (price)” และ “มูลค่า (value)” ที่นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องมีความสามารถในการเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงกว่าราคา โดยหลักการประเมินมูลค่า (valuation) นั้นก็มีสูตรพื้นฐานง่ายๆคือ Value = (Future Income + Terminal Value) x Discount Rate ที่แสดงให้เห็นว่ามูลค่าของสินทรัพย์นั้นคือผลรวมของมูลค่าของรายได้ในอนาคตที่เกิดจากสินทรัพย์นั้นๆ อาทิ อัตราดอกเบี้ยและเงินปันผล รวมกับมูลค่าของสินทรัพย์นั้นๆตอนขายออกไปและหักด้วยอัตราส่วนลดที่ผสมผสานทั้งอัตราความเสี่ยงที่ยิ่งเสี่ยงมากยิ่งต้องลดเยอะและอัตราค่าเสียโอกาสที่ต้องเปรียบเทียบว่าเงินที่มีอยู่นั้นหากนำไปลงทุนอย่างอื่นจะได้ผลตอบแทนเท่าไหร่ (ถ้าอยากทำความเข้าใจด้านนี้ลึกๆต้องหาหนังสือ Finance มาอ่านดูต่อครับ)
Advice from a Lifetime of Investing
คำแนะนำของ Scott Galloway จากประสบการณ์การลงทุนมาตลอดชีวิตมีดังนี้
ปิดท้าย Scott Galloway ก็สรุปสั้นๆว่ามนุษย์ทุกคนควรออกตามหางานที่ตัวเองทำได้ดีมากพอที่จะมีคนจ่ายเงินจ้างสูงๆได้และลงทุนทำงานอย่างหนักโดยแบ่งเงินเก็บมาลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนทบต้นต่อไปเรื่อยๆในทุกๆปีด้วยการลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงเพื่อสร้างอิสรภาพทางการเงินให้คุณสามารถใช้ชีวิตกับคนที่คุณรักอย่างไร้ข้อกังวลได้ในอนาคต
<<< ติดตาม [สรุปหนังสือ] เล่มอื่นๆต่อได้ทางนี้เลยครับ [CLICK] >>>
<<< ที่สำคัญ อย่าลืมกดไลค์ Panasm’s Facebook Page เพื่อติดตามอัพเดทใหม่ๆของผมนะครับ [CLICK] >>>
<<< ปิดท้าย สิ่งที่ผมทำสรุปมานั้นเป็นเพียงแค่เนื้อหาส่วนที่ผมสนใจที่สุดของหนังสือเล่มนี้ สำหรับเพื่อนๆที่ถูกใจสรุปของหนังสือเล่มนี้ อย่าลืมซื้อหนังสือเล่มเต็มและอุดหนุนผู้เขียนกันด้วยนะครับ ขอบคุณที่ติดตามครับผม >>>
ประเภทอาหาร: Western Comfort Food คะแนนรีวิว: ★★★★ [...]
ประเภทอาหาร: Modern French คะแนนรีวิว: ★★★★★ [...]
by Yuval Noah Harari [...]
ประเภทอาหาร: Modern European with Asian Accents คะแนนรีวิว: ★★★★★ [...]
ประเภทอาหาร: Thai Seafood คะแนนรีวิว: ★★★ [...]
ประเภทอาหาร: Authentic Thai คะแนนรีวิว: ★★★★★ [...]