[สรุปหนังสือ] The Catalyst : How to Change Anyone’s Mind (2020)
by Jonah Berger
“Great hostage negotiators don’t push harder. Instead, they identify what’s preventing change from happening and remove that barrier.”
มนุษย์ทุกคนบนโลกใบนี้ล้วนอยากที่จะ “เปลี่ยนแปลง” บางสิ่งบางอย่าง แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นก็เป็นสิ่งที่ยากและล้วนเกิดขึ้นอย่างเชื่องช้าจาก “แรงเฉื่อย” ซึ่งถือเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่มักเลือกจมอยู่กับวิธีคิดและพฤติกรรมแบบเดิมๆ มนุษย์ส่วนใหญ่จึงมักหันหน้าเพื่อ “ปะทะ” กับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นด้วยการผลักดันสิ่งที่พวกเขาต้องการจะเปลี่ยนอย่างหนักหน่วงมากยิ่งขึ้นด้วยวิธีการต่างๆนานา ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารแบบย้ำๆ การสรรหาเหตุผลมากมายมาสนับสนุน ไปจนถึง การใช้กำลังในการกดดัน
ตรงกันข้าม มนุษย์บางกลุ่มกลับเลือกทำตัวเป็นดั่ง “catalyst” หรือ “ตัวเร่งปฏิกิริยาทางเคมี” ด้วยการพยายามลด “อุปสรรค” ที่คอยฉุดรั้งไม่ให้การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นเกิดขึ้นและสร้างสภาวะที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงให้มากที่สุด โดยแทนที่คนเหล่านี้จะตั้งคำถามว่า “เราต้องทำอะไรเพิ่มอีกบ้าง?“ พวกเขากลับเลือกที่จะทำความเข้าใจถึงปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงและตั้งคำถามว่า “ทำไมการเปลี่ยนแปลงถึงยังไม่เกิดขึ้นและอะไรคือตัวการสำคัญที่หยุดยั้งไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้น?”
The Catalyst คือ หนังสือเล่มล่าสุดของ Jonah Berger ศาสตราจารย์ด้านการตลาดแห่ง Wharton School ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมและอิทธิพลทางสังคมที่ต้องการนำเสนอกรอบวิธีคิดแบบ “ตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี” ที่สามารถเปลี่ยนแปลงจิตใจของผู้คนด้วยการทลาย “อุปสรรค” สำคัญ 5 ประการที่ล่ามโซ่ไม่ให้ผู้คนเปลี่ยนความคิดและการกระทำของตัวเองที่อัดแน่นไปด้วยองค์ความรู้และกรณีศึกษาแบบเน้นๆ ขอเชิญทุกท่านที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงอ่านสรุปหนังสือเล่มนี้กันได้เลยครับ
ผู้เขียน Jonah Berger ศาสตราจารย์ด้านการตลาดแห่ง Wharton School (source: USA Today)
1 | Reactance
เหตุการณ์ตลกร้ายได้เกิดขึ้นในปี 2018 เมื่อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์แคปซูลผงซักฟอกแบบสำเร็จรูป Tide Pod ของ Procter & Gamble บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งวงการสินค้าอุปโภคบริโภคได้เกิดฮิตขึ้นจากปรากฎการณ์ Tide Pod Challenge ที่วัยรุ่นชาวอเมริกันหลายคนแห่กันถ่ายคลิปท้า “กิน” แคปซูลผงซักฟอกกันอย่างคึกคะนอง ด้วยความตกใจ Procter & Gamble จึงเร่งออกแคมเปญโฆษณาในการรณรงค์ให้ทุกคน “หยุดกิน Tide Pod” อย่างเต็มที่ในหลายช่องทาง แต่ผลที่ได้นั้นกลับเป็นตรงกันข้าม เมื่อหลังจากนั้นไม่นาน ปรากฎการณ์ Tide Pod Challenge ก็ยิ่งลุกโชนขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายมาเป็นปรากฎการณ์ระดับโลก !!
มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตที่มีความต้องการ “อิสรภาพ” ในการควบคุมชีวิตและการตัดสินใจของตัวเองและมนุษย์ก็มักเกลียดการถูก “สั่ง” หรือ “บังคับ” ให้ทำอะไรต่างๆที่ทำให้พวกเรารู้สึกว่าอิสรภาพของตัวเองถูกลดทอนลงไปถึงแม้ว่าคำแนะนำเหล่านั้นอาจสร้างผลดีต่อพวกเรามากมายแค่ไหนก็ตาม ทางจิตวิทยาเรียกพฤติกรรมเชิงต่อต้านของมนุษย์รูปแบบนี้ว่า “reactance” ที่มนุษย์มักจะต่อต้านและทำในสิ่งตรงกันข้ามกับสิ่งที่พวกเขาถูกสั่งหรือแนะนำให้ทำ ความคิดที่ว่า “คุณเป็นใครถึงกล้ามาแนะนำเราได้” นั้นถือเป็นเรื่องปกติในความคิดของมนุษย์ทุกคนและพวกเราก็มักมี “เรดาร์” คอยตรวจจับว่าใครกำลังลดทอนอิสรภาพในการตัดสินใจของเราอยู่บ้าง
ดังนั้น หลักการแรกของ catalyst ก็คือ “allow for agency” หรือ การ “มอบอำนาจการตัดสินใจ” ทั้งหมดให้กับเป้าหมายที่เราอยากเปลี่ยนความคิดของพวกเขาอย่างเต็มที่เพื่อป้องกันไม่ให้อุปสรรคที่คอยขัดขวางการเปลี่ยนแปลงอย่าง reactance ถือกำเนิดขึ้น ด้วยการเปลี่ยนจากการบอกหรือสั่งแบบตรงๆเป็นการเร่งปฏิกิริยาให้เป้าหมาย “คิดได้ด้วยตัวเอง” ผ่านเทคนิคสำคัญ 4 วิธีการ ได้แก่
แคมเปญ Smoking Kid ของ “ส.ส.ส.” (source: ส.ส.ส.) – ดูคลิปเต็มได้ที่นี่
2 | Endowment
ผมเชื่อว่าทุกท่านน่าจะเคย “ทน” ใช้งานสิ่งของอะไรบางอย่างทั้งๆที่พวกเราต่างรู้ดีว่าเราควร “เปลี่ยน” มาใช้ของชิ้นใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าได้ตั้งนานแล้ว เหมือนกับผมที่กว่าจะเปลี่ยน iPhone 7 ที่แบตเสื่อมจนแทบใช้งานแบบไม่มีแบตสำรองไม่ได้และแอพหลายแอพชอบเด้งหลุดตลอดเวลาในพักหลังๆก็ปาเข้าไปตั้ง 5 ปี !!
นักพฤติกรรมศาสตร์เรียกปรากฎการณ์ที่มนุษย์มักยึดติดกับสิ่งเดิมๆอย่างไม่สมเหตุสมผลเหล่านี้ว่า “endowment effect” ที่อธิบายง่ายๆว่ามนุษย์มักจะให้คุณค่ากับสิ่งของที่พวกเขาครอบครองอยู่มากกว่าสิ่งของที่พวกเขาไม่ได้ครอบครองและยิ่งมนุษย์ถือครองสิ่งของเหล่านั้นนานเท่าไหร่ สิ่งของเหล่านั้นก็จะมีคุณค่าต่อพวกเขามากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ โดยอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงนี้มีต้นตอจากความลำเอียงของมนุษย์ที่ให้คุณค่าของการสูญเสียมากกว่าการได้รับ (loss aversion) จนทำให้พวกเรามักมองว่าประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนั้นน้อยกว่าต้นทุนของการเปลี่ยนแปลง (switching cost) ที่ต้องสูญเสียไปมากจนทำให้คนส่วนใหญ่ไม่อยากเปลี่ยนแปลง อาทิ กรณีของการไม่ยอมเปลี่ยน iPhone ของผมนั้นก็ไม่ได้มีอะไรมากกว่าการขี้เกียจออกไปซื้อเครื่องใหม่ ย้ายข้อมูล ลงแอพใหม่และเรียนรู้กับระบบใหม่ๆ ทั้งๆที่ iPhone เครื่องใหม่นั้นมีประโยชน์มากมายต่อผมในระยะยาว ทั้ง แบตที่ทนทานทำให้ไม่ต้องพกแบตสำรอง อาการแอพค้างที่จะหายไปและกล้องถ่ายรูปที่สวยขึ้นเยอะ
ดังนั้น หลักการของ catalyst ในลำดับถัดมาก็คือการพยายามลดความรุนแรงของ endowment effect ลงให้มากที่สุดเพื่อช่วยให้เป้าหมายรู้สึกสะดวกใจที่จะยอมละทิ้งสิ่งของหรือความคิดแบบเดิมของตัวเอง ผ่านเทคนิคสำคัญ 2 วิธีการ ได้แก่
แคมเปญ Vote Leave ที่นำไปสู่ BREXIT (source: newstatesman)
3 | Distance
ทุกๆครั้งที่มนุษย์ต้องการเปลี่ยนความคิดของมนุษย์ผู้อื่น พวกเราต่างมักต้องการการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่แบบฉับพลันทันทีอยู่เสมอ ซึ่งนั่นก็ทำให้มนุษย์ส่วนใหญ่มักคิดว่าการให้ “ข้อมูลสนับสนุน” แนวคิดของตัวเองให้มากและน่าเชื่อถือที่สุดคือวิธีการเปลี่ยนใจฝ่ายตรงข้ามได้ดีที่สุด แต่ในหลายๆครั้ง การจู่โจมด้วยข้อมูลหรือเหตุผลในฝั่งของตัวเองกลับให้ผลตรงกันข้ามเมื่อเป้าหมายที่เราต้องการเปลี่ยนความคิดกลับยึดติดกับความคิดของตัวเองอย่างแข็งกร้าวมากยิ่งขึ้น ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะ reactance ที่มนุษย์มักตั้งตัวเป็นศัตรูทันทีที่พวกเขาเล็งเห็นว่าคู่สนทนาพยายามส่งอิทธิพลต่อความคิดของตัวเอง แต่ถึงกระนั้น การให้ข้อมูลโดยไม่แม้แต่จะมีคำเชิญชวนใดๆก็สามารถส่งฝ่ายตรงข้ามไปยังฟากฝั่งที่สุดโต่งมากยิ่งขึ้น
อุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงลำดับถัดมาก็คือ “distance” หรือ “ระยะห่าง” ระหว่างขอบเขตของแนวคิดที่กลุ่มเป้าหมายยอมรับได้ (zone of acceptance) กับแนวคิดที่เราต้องการให้พวกเขาเปลี่ยนใจซึ่งในหลายๆครั้งก็ตกอยู่ในขอบเขตที่กลุ่มเป้าหมายรับไม่ได้ (zone of rejection) ที่มักทำให้พวกเขาเลือกปฏิเสธแนวคิดนั้นไปในทันทีโดยไม่ฟังเหตุผลใดๆเพียงเพราะว่าแนวคิดเหล่านั้นมันขัดแย้งกับความเชื่อแบบดั้งเดิมของพวกเขาอย่างมากจนเกินไป ซึ่งก็เป็นไปตามหลักการ confirmation bias ที่มนุษย์มักมีความลำเอียงและมักเชื่อข้อมูลที่สนับสนุนความคิดของตัวเองแต่กลับมองข้ามข้อมูลที่ขัดแย้งกับความคิดของตัวเอง ซึ่งโลกในยุค social media ในปัจจุบันก็ได้เร่งปฏิกิริยาให้เกิดการแบ่งขั้วทางความคิดมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้น หลักการของ catalyst ในลำดับถัดมาก็คือการพยายามลดระยะห่างระหว่างแนวคิดของเป้าหมายกับแนวคิดที่เราต้องการให้พวกเขาเปลี่ยนใจ ผ่านเทคนิคสำคัญ 3 วิธีการ ได้แก่
UberBlack บริการแรกของ Uber ที่ช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงบริการเรียกรถจากคนแปลกหน้าในปัจจุบัน (source: uber)
4 | Uncertainty
ความหวาดกลัวหรือความกังวลต่อ “สิ่งใหม่” นั้นถือเป็นหนึ่งในสัญชาติญาณของสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิดที่มักรู้สึกปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่จนไม่อยากหรือไม่กล้าที่จะ “ทดลอง” สิ่งใหม่ๆที่เต็มไปด้วยความแปรปรวน อุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงลำดับถัดมาก็คือ “uncertainty” หรือ “ความไม่แน่นอน” ที่ทำให้มนุษย์เลือกที่จะ “ด้อยค่า” สิ่งใหม่ๆและไม่ยอมตัดสินใจเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองออกจากสถานภาพเดิมๆเมื่อพวกเขารู้สึกไม่แน่นอนว่าสิ่งใหม่ๆเหล่านั้นจะให้ผลลัพธ์เป็นอย่างไร
โดยหลักการของ catalyst ที่ช่วยทลายความกังวลที่เกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนนั้นก็คือการสร้าง “ความสามารถในการทดลอง (trialability)” ที่เปิดโอกาสให้เป้าหมายสามารถทดลองเปิดรับประสบการณ์จากสิ่งใหม่ๆอย่างสะดวกสบายและด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุดเพื่อช่วยลดความไม่แน่นอนและช่วยให้พวกเขาตัดสินใจเปลี่ยนแปลงความคิดของตัวเองได้อย่างง่ายดายมากขึ้น ซึ่งก็มีเทคนิคสำคัญ 4 วิธีการ ได้แก่
โมเดล free shipping + free return ของ Zappos (source: Zappos)
5 | Corroborating Evidence
ผู้เขียนแบ่งระดับความยากง่ายของการเปลี่ยนแปลงออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ “ก้อนกรวด” ที่เปรียบเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สามารถทำได้อย่างง่ายดายที่อาศัยเพียงแค่การสร้างการรับรู้ในวงกว้างเป็นหลักและ “หินก้อนใหญ่” ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางความคิดขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยแรงขับเคลื่อนอันมหาศาลในการขยับความคิดแบบเดิมๆที่ฝังรากลึก อาทิ การเปลี่ยนแปลงแนวคิดที่มีต่อโทษประหารชีวิตหรือพรรคการเมือง หรือ การเปลี่ยนแบรนด์น้ำอัดลมที่ชอบจากโค้กเป็นแป็ปซี่
ในกรณีที่มนุษย์มีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงความคิดแบบหินก้อนใหญ่นั้น พวกเรามักพยายามสรรหาเหตุผลต่างๆนาๆหรือเพิ่มความถี่ในการนำเสนอเหตุผลของเราไปยังกลุ่มเป้าหมายหากการนำเสนอรอบแรกไม่ประสบความสำเร็จ แต่วิธีการเหล่านั้นก็มักจะไม่ได้ผลเท่าที่ควรจากทั้งอุปสรรค 4 ข้อที่กล่าวไปในบทก่อนหน้าและจากอุปสรรคอีกข้ออย่าง “translation problem” ที่กลุ่มเป้าหมายมัก “แปลสาร” ของคำแนะนำเหล่านั้นมาคิดต่ออีกทอดหนึ่งว่าคำแนะนำเหล่านั้นมันเหมาะสมกับตัวของเป้าหมายเองจริงๆหรือเป็นเพียงแค่สิ่งที่เหมาะสมกับผู้แนะนำเท่านั้น ซึ่งความเอื่อยเฉื่อยของมนุษย์ก็มักจะด้อยค่าคำแนะนำที่มาจาก “ช่องทางเดียว” เหล่านั้นว่ามันคงใช้ไม่ได้ผลกับเราหรอกและทำให้พวกเขาไม่ยอมเปลี่ยนแปลง
องค์ประกอบสำคัญลำดับสุดท้ายที่ช่วยกระตุ้นให้การเปลี่ยนแปลงทางความคิดเกิดขึ้นได้ก็คือการหา “corroborating evidence” หรือ “หลักฐานสนับสนุน” ที่ “ตรงจุด” เพื่อเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเทคนิคที่ใช้ได้ผลที่สุดก็คือการสรรหา “ผู้สนุบสนุน” ที่มีความใกล้เคียงกับกลุ่มเป้าหมายหลายคนเพื่อมาช่วยกันตอกย้ำว่าคำแนะนำเหล่านั้นมันได้ผลจริง
โดยแน่นอนว่าผู้สนับสนุนนั้นต้องมีความเหมือน (similarity) กับเป้าหมายในบางประการ อาทิ อายุ อาชีพ หรือ ความชอบ เพื่อให้เป้าหมายตั้งใจฟังและยิ่งผู้สนับสนุนมาจากกลุ่มทางสังคมหลายกลุ่มหรือยิ่งมีความหลากหลายมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี อาทิ หากเพื่อนของคุณที่ชอบซีรี่ย์แนวตลกมาแนะนำให้คุณดูซีรี่ย์เรื่องหนึ่ง คุณอาจจะรู้สึกเฉยๆว่าซีรี่ย์เรื่องนั้นอาจเหมาะกับเพื่อคนนั้นของคุณมากกว่าตัวของคุณเอง แต่ถ้าทั้งพี่น้อง เพื่อนสมัยเรียน เพื่อนร่วมงานและ influencer ที่คุณชื่นชอบแนะนำซีรี่ย์เรื่องหนึ่งพร้อมกัน คุณก็คงอยากที่จะดูตามในทันที !! หรือ กรณีของ Seeds of Peace ที่เปิดโอกาสให้วัยรุ่นอิสราเอลและวัยรุ่นปาเลสไตน์จำนวนมากได้มารู้จักและทำความเข้าใจกันเป็นกลุ่มเพื่อตอกย้ำว่าคนปาเลสไตน์และอิสราเอลส่วนใหญ่นั้นก็เป็นคนปกติเหมือนกัน
นอกจากนั้น ช่วงเวลาของการให้คำแนะนำที่มาจากผู้สนับสนุนหลายคนนั้นก็มีความสำคัญ โดยกลยุทธ์ที่ดีที่สุดก็หนีไม่พ้นการที่ผู้สนับสนุนหลายคนต่างแนะนำใน “ช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน” ที่ทำให้เป้าหมายจดจำและเกิดการเปลี่ยนแปลงได้มากที่สุด ซึ่งมักได้ผลดีกว่าการที่แต่ละคนต่างแนะนำในช่วงเวลาที่ต่างกัน อาทิ กรณีของการบำบัดคนติดเหล้าหรือติดยาที่หากครอบครัวและเพื่อนรวมตัวกันเพื่อบอกแก่เป้าหมายว่าพวกเขาเป็นห่วงเขามากขนาดไหนพร้อมๆกัน ซึ่งมักได้ผลดีกว่าการที่สมาชิกครอบครัวหรือเพื่อนแต่ละคนแยกกันบอกเป้าหมายทีละคนในช่วงเวลาไม่พร้อมกัน
โครงการแค้มป์ Seeds of Peace (source: Social Impact Israel)
<<< ติดตาม [สรุปหนังสือ] เล่มอื่นๆต่อได้ทางนี้เลยครับ [CLICK] >>>
<<< ที่สำคัญ อย่าลืมกดไลค์ Panasm’s Facebook Page เพื่อติดตามอัพเดทใหม่ๆของผมนะครับ [CLICK] >>>
<<< ปิดท้าย สิ่งที่ผมทำสรุปมานั้นเป็นเพียงแค่เนื้อหาส่วนที่ผมสนใจที่สุดของหนังสือเล่มนี้ สำหรับเพื่อนๆที่ถูกใจสรุปของหนังสือเล่มนี้ อย่าลืมซื้อหนังสือเล่มเต็มและอุดหนุนผู้เขียนกันด้วยนะครับ ขอบคุณที่ติดตามครับผม >>>
ประเภทอาหาร: Western Comfort Food คะแนนรีวิว: ★★★★ [...]
ประเภทอาหาร: Modern French คะแนนรีวิว: ★★★★★ [...]
by Yuval Noah Harari [...]
ประเภทอาหาร: Modern European with Asian Accents คะแนนรีวิว: ★★★★★ [...]
ประเภทอาหาร: Thai Seafood คะแนนรีวิว: ★★★ [...]
ประเภทอาหาร: Authentic Thai คะแนนรีวิว: ★★★★★ [...]