[สรุปหนังสือ] Trust and Inspire : How Truly Great Leaders Unleash Greatness in Others (2022)
by Stephen M.R. Covey, David Kasperson, McKinlee Covey & Gary T. Judd
“The difference between what we are doing and what we are capable of doing would solve most of the world’s problems.” – Mahatma Gandhi
โลกของเราได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว แต่สไตล์ความเป็น “ผู้นำ” ของพวกเราส่วนใหญ่นั้นยังคงย่ำอยู่กับที่มาตั้งแต่ยุคสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ผู้นำองค์กรมักยึดหลักการ “Command & Control” ที่อาศัยการสั่งงานและการควบคุมตามลำดับขั้นที่มีระเบียบแบบแผนอันเคร่งครัดที่เปรียบพนักงานเป็นดั่งทรัพยากรที่ต้องทำตามคำสั่งอย่างรวดเร็วที่สุดโดยไม่สนใจว่าพวกเขาจะมีความรู้สึกหรือศักยภาพอะไรซ่อนเร้นอยู่… ซึ่งแน่นอนว่าวิถีแห่งผู้นำแบบเบ็ดเสร็จนี้ไม่สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสมรภูมิธุรกิจที่ต้องอาศัยทั้งนวัตกรรมและความคล่องตัวมากยิ่งขึ้นและการมีทางเลือกอันมากมายมหาศาลของกำลังพลวัยทำงานที่ก็ต้องการทำงานให้กับบริษัทที่เห็นคุณค่าของพวกเขาได้อีกต่อไป
Trust & Inspire คือ คัมภีร์เล่มล่าสุดของผู้เขียน Stephen M. R. Covey ที่ว่าด้วยสไตล์ของผู้นำในยุคสมัยใหม่อย่าง “Trust & Inspire” ที่มีเป้าหมายในการปลดล็อก “ศักยภาพ” ของเพื่อนมนุษย์ที่ต่างก็มีขีดความสามารถอันยิ่งใหญ่ซ่อนอยู่ในตัวเองผ่านการสร้าง “ความเชื่อใจ” ที่ให้อำนาจพวกเขาในการใช้ศักยภาพในการทำสิ่งที่ถูกต้องได้อย่างเต็มที่และ “การสร้างแรงบันดาลใจ” ที่ช่วยเติมไฟและเป้าประสงค์ของชีวิตให้ลุกโชติช่วงเพื่อให้พวกเขาสร้างสิ่งที่มีความหมาย… ขอเชิญทุกท่านที่ต้องการสร้างความเป็นผู้นำที่เหมาะสมกับยุคสมัยใหม่อ่านสรุปหนังสือเล่มนี้ได้เลยครับ
Part One – The Future of Leadership : From Command & Control to Trust & Inspire
Chapter 1 : The World Has Changed, Our Style of Leadership Has Not
โลกในยุคปัจจุบันนั้นได้แปรเปลี่ยนไปจากโลกในยุคสมัยก่อนจากการขับเคลื่อนของคลื่นของความเปลี่ยนแปลงทั้ง 5 ประการที่ทำให้วิถีของความเป็นผู้นำแบบ Command & Control ที่พอใช้การได้บ้างในอดีตนั้นไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป อันได้แก่
ดังนั้น องค์กรที่จะประสบความสำเร็จในโลกยุคปัจจุบันจึงต้องการวิถีของความเป็นผู้นำรูปแบบใหม่อย่าง Trust & Inspire เพื่อทำพันธกิจที่สำคัญที่สุดของยุค 2 ประการให้สำเร็จ อันได้แก่
เนื้อหาในส่วนถัดไปของหนังสือเล่มนี้จะทำการขยายความว่าวิถีผู้นำแบบ Trust & Inspire นั้นมีหลักการอะไรบ้าง แต่บทนี้ขอทิ้งท้ายให้เห็นความแตกต่างสำคัญระหว่างวิธีคิดแบบ Command & Control กับ Trust & Inspire ไว้ 2 ประการ ได้แก่
Chapter 2 : The Increasing Irrelevance of Command & Control
เรื่องราวแห่งความสำเร็จครั้งใหม่อันน่าเหลือเชื่อของ Microsoft ที่ก่อนหน้านั้นต้องเผชิญหน้ากับความตกต่ำอย่างรุนแรงจากวัฒนธรรมองค์กรแบบ Command & Control ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งกลับสามารถพลิกฟื้นขึ้นมาได้อีกครั้งในปี 2014 ด้วยฝีมือของ CEO คนใหม่อย่าง Satya Nadella ผู้เชื่อมั่นในการสร้างองค์กรที่สามารถดึงศักยภาพของคนเก่งออกมาได้มากที่สุดผ่านการให้ความเชื่อใจ การใช้ “empathy” และสนับสนุนการทำงานร่วมกันเพื่อสรรสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ จนทำให้ Microsoft สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ อาทิ Microsoft Azure และผลักดันมูลค่าบริษัทจาก 300 ล้านดอลลาร์ไปสู่ระดับ 2 พันล้านดอลลาร์ได้สำเร็จ
วิธีคิดแบบ Command & Control นั้นถือเป็นวิธีคิดที่แทบทุกคนในโลกต่างเห็นตรงกันว่าเป็นวิธีคิดที่ล้าสมัยและสร้างปัญหามากมาย อาทิ การเป็นอุปสรรคต่อนวัตกรรมที่ความกลัวมักทำให้พนักงานไม่กล้าเสี่ยงลองผิดลองถูกและการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ไร้ความสุขจากการทำงานที่ถูกปกครองโดยไม่มีความเชื่อใจกันจนไม่สามารถหาคนเก่งมาทำงานในองค์กรได้ แต่วิธีคิดแบบ Command & Control นั้นก็ยังคงอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบันจาก 3 อุปสรรคเชิงจิตวิทยา ดังต่อไปนี้
วิธีคิดแบบ Command & Control นั้นยังมีการวิวัฒนาการจากรูปแบบการปกครองแบบเบ็ดเสร็จเหมือนกับแม่ทัพทหารในอดีตมาเป็นการเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์มากขึ้นอยู่บ้าง อาทิ การใช้เครื่องมือสร้างแรงจูงใจ การเพิ่มสวัสดิการ ไปจนถึง การลงทุนพัฒนาศักยภาพของพนักงาน แต่ทั้งหมดนี้ก็เพื่อประโยชน์ในการทำผลตอบแทนของบริษัทให้ได้มากที่สุด เปรียบเสมือนการเปิดเพลงให้วัวฟังโดยมีเป้าหมายในการทำให้วัวผ่อนคลายและให้นมมากขึ้นไม่ใช่ทำให้วัวเหล่านั้นมีชีวิตที่มีความสุขอย่างแท้จริง
Chapter 3 : Style is Getting in the Way of Intent
ผมเชื่อว่าผู้นำจำนวนมากต่างมีความหวังดีต่อพนักงานในทีมของตัวเองอยู่เป็นแน่แท้ แต่ผมก็เชื่อเหมือนกันว่ามีพนักงานจำนวนมากไม่ได้มองว่าผู้นำเหล่านั้นหวังดีต่อตนเอง… ช่องว่างทางความคิดของมนุษย์นั้นถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นจากการที่ตัวเราเองมักประเมินตัวเองจาก “ความตั้งใจ (intent)” แต่มักเลือกประเมินผู้อื่นจาก “พฤติกรรม (behavior)” ที่อาจไม่ได้สอดคล้องกับความตั้งใจของพวกเขาอยู่ตลอดเวลา
ผู้นำยุคใหม่จึงต้องมีทั้งความตั้งใจในการสร้างองค์กรแบบ Trust & Inspire และต้องมีสไตล์ของความเป็นผู้นำที่ถ่ายทอดความตั้งใจเหล่านั้นออกมาเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงได้ ผ่านหลักการและเทคนิคในบทถัดๆไปของหนังสือเล่มนี้
Part Two – Becoming a Trust & Inspire Leader : The Fundamental Beliefs and 3 Stewardships
Chapter 4 : The Fundamental Beliefs of a Trust & Inspire Leader
จุดเริ่มต้นของการเป็นผู้นำแบบ Trust & Inspire อย่างสมบูรณ์นั้นต้องเริ่มต้นจากการมีความเชื่อพื้นฐานสำคัญ 5 ประการ อันได้แก่
Chapter 5 : The 1st Stewardship : Modeling, or Who You Are
ความรับผิดชอบที่ 1 ของผู้นำแบบ Trust & Inspire ก็คือ “การเป็นต้นแบบที่ดี” ที่ผู้นำจะต้องแสดงให้เห็นถึงคุณค่าแห่งความเชื่อใจและการสร้างแรงบันดาลใจให้กับสมาชิกทุกคนในองค์กรได้รับรู้และเรียนรู้ก่อนที่จะเริ่มพูดถึงและคาดหวังให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม… เพราะมนุษย์มักประพฤติตัวตามพฤติกรรมของผู้นำไม่ใช่สิ่งที่เขาพูดแต่ไม่ได้ทำ ไม่ต่างจากลูกๆที่มักเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อแม่ไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาสั่ง… โดยการเป็นต้นแบบที่ดีนั้นมีหัวใจสำคัญ 2 ประการ ได้แก่
โดยแบบอย่างที่ดีของผู้นำแบบ Trust & Inspiring นั้นมีองค์ประกอบสำคัญ 6 ประการซึ่งผู้เขียนนำมาจับเป็นคู่กันทั้งหมด 3 คู่ ดังต่อไปนี้
Chapter 6 : The 2nd Stewardship : Trusting, or How You Lead
ความรับผิดชอบที่ 2 ของผู้นำแบบ Trust & Inspire ก็คือ “การให้ความเชื่อใจ” ที่นอกจากผู้นำต้องสร้าง “ความน่าเชื่อใจ (trustworthiness)” ให้กับตัวเองแล้ว ผู้นำยังต้อง “ส่งต่อความเชื่อใจ (trusting)” ให้กับผู้อื่นด้วยความคิดที่ว่าพวกเขาจะสามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่จากศักยภาพของตัวเองได้ จึงสามารถที่จะสร้าง “ความเชื่อใจ (trust)” ได้อย่างแท้จริง… เพราะมนุษย์เมื่อได้รับมอบความเชื่อใจแล้ว พวกเราก็มักที่จะอยากตอบสนองและส่งต่อความเชื่อใจเหล่านั้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสมกับที่ได้รับความเชื่อใจเหล่านั้นมา… โดยการส่งมอบความเชื่อใจนั้นมีกระบวนการสำคัญ 3 ประการ ดังต่อไปนี้
โดยผู้นำแบบ Trust & Inspire ที่มีประสิทธิภาพต้องมีความสามารถในการให้ “ความเชื่อใจอย่างชาญฉลาด (smart trust)” โดยให้เต็มที่แก่ผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ (trustworthy) สูงที่สามารถใช้ “วิจารณญาณที่ดี (good judgment)” ในการตัดสินใจทำงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Chapter 7 : The 3rd Stewardship : Inspiring, or Connecting to Why
ความรับผิดชอบที่ 3 ของผู้นำแบบ Trust & Inspire ก็คือ “การสร้างแรงบันดาลใจ” เพื่อให้ผู้ที่ได้รับแรงบันดาลใจลงมือทำสิ่งที่มีความหมายต่อพวกเขาอย่างสุดความสามารถ… ซึ่งผู้นำที่ทำตัวเป็นต้นแบบที่ดีและส่งผ่านความเชื่อใจให้กับผู้อื่นนั้นก็สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้อื่นได้แล้ว แต่ผู้นำยังสามารถสร้างแรงบันดาลใจอย่างตั้งใจผ่านกระบวนการสำคัญอีก 2 ประการ ได้แก่
Chapter 8 : Stewardship Agreements
เครื่องมือสำคัญที่ส่งเสริมให้ผู้นำแบบ Trust & Inspire สามารถสร้างแรงบันดาลใจ ความเชื่อใจและความสัมพันธ์ที่ดีไปพร้อมๆกับการสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยมได้นั้นก็คือการทำ “ข้อตกลง” ระหว่างผู้นำที่ได้ความรับผิดชอบในการเป็นผู้นำและตัวของผู้ตามที่ก็ได้รับความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างให้เกิดความเข้าใจแบบทะลุปรุโปร่งและป้องกันไม่ให้เกิดความสงสัยลังเลใจใดๆในเวลาต่อมา ซึ่งข้อตกลงที่ดีนั้นต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
Chapter 9 : What Trust & Inspire is Not
การทำความเข้าใจหลักการความเป็นผู้นำแบบ Trust & Inspire อย่างสมบูรณ์แบบนั้นยังต้องเข้าใจถึงสิ่งที่ผู้นำแบบ Trust & Inspire ไม่ใช่และมักก่อให้เกิดความเข้าใจแบบผิดๆอยู่บ่อยๆ ดังต่อไปนี้
Part Three – Overcoming the 5 Common Barriers to Becoming a Trust & Inspire Leader
Chapter 10 : Barrier #1 : “This Won’t Work Here”
อุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงสู่วิถีแห่ง Trust & Inspire ข้อแรกก็คือความคิดที่ว่า “ที่นี่ทำแบบนั้นไม่ได้หรอก” ซึ่งมักเกิดจากข้ออ้างที่ว่าองค์กรหรืออุตสาหกรรมที่องค์กรดำเนินธุรกิจอยู่นั้นเต็มไปด้วยข้อจำกัดแบบ Command & Control จนไม่น่าจะมีใครลงมือเปลี่ยนแปลงสู่วิถีแห่ง Trust & Inspire ได้สำเร็จ… วิธีแก้ไขความคิดนี้ทำได้ด้วยการ “เริ่มต้นเปลี่ยนแปลงจากตัวเราเองก่อน” โดยไม่หวังพึ่งผู้อื่น เมื่อการเปลี่ยนแปลงเริ่มส่งผลลัพธ์ที่ดีขึ้นต่อทั้งความสัมพันธ์และผลงานของทีมแล้ว เมื่อนั้นองค์กรในภาพรวมก็อยากที่จะเปลี่ยนแปลงตามและคุณก็สามารถทำหน้าที่เป็น mentor ให้กับผู้อื่น
Chapter 11 : Barrier #2 : Fear or “But What If…”
อุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงสู่วิถีแห่ง Trust & Inspire ข้อที่ 2 ก็คือความคิดที่ว่า “แต่ถ้าเกิดว่า..” ซึ่งมักเกิดขึ้นจากความกลัวในความเสี่ยงและความล้มเหลวที่อาจจะเกิดขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วิถีแห่ง Trust & Inspire อาทิ “ถ้าเกิดว่ามันไม่สำเร็จ” หรือ “ถ้าเกิดว่ามีคนหักหลังความเชื่อใจนั้นหละ”… วิธีแก้ไขความคิดนี้ทำได้ด้วยการกลับไปอ่านความรับผิดชอบทั้งหมดของผู้นำแบบ Trust & Inspire เพื่อทำหน้าที่พัฒนาตนเองให้ดีที่สุด โดยเฉพาะการทำตัวเป็นต้นแบบที่ดี (modeling) และการให้ความเชื่อใจอย่างชาญฉลาด (smart trust) แก่ผู้ที่มีความน่าเชื่อถือที่สามารถตัดสินใจได้จากวิจารณญาณที่ดี (good judgment) โดยยังคงรักษาวิธีคิดที่ว่ามนุษย์ส่วนใหญ่นั้นสามารถเชื่อใจได้และความเชื่อมั่นว่า Trust & Inspire คือวิธีคิดแบบผู้นำที่มีประสิทธิภาพที่สุด
Chapter 12 : Barrier #3 : “I Don’t Know How to Let Go”
อุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงสู่วิถีแห่ง Trust & Inspire ข้อที่ 3 ก็คือความคิดที่ว่า “ฉันไม่อาจปล่อยมันไปได้” ทั้งในแง่ของการปล่อยความรับผิดชอบไปให้แก่ผู้อื่นหรือปล่อยวิธีคิดแบบ Command & Control ให้หมดไป… วิธีแก้ไขความคิดนี้ทำได้ด้วยการเปลี่ยนความคิดว่าความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นจากการปล่อยให้ผู้อื่นได้ทดลองผิดลองถูกแทนการลงมือทำด้วยตัวเองนั้นคุ่มค่ากับการเรียนรู้ที่พวกเขาจะได้รับและการยกเลิกนโยบายแบบ Command & Control ที่ไม่จำเป็นอีกต่อไปแล้วนั้นมีโอกาสสร้างประโยชน์ได้มากกว่าการเก็บมันไว้
Chapter 13 : Barrier #4 : “I’m the Smartest One in the Room”
อุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงสู่วิถีแห่ง Trust & Inspire ข้อที่ 4 ก็คือความคิดที่ว่า “ฉันคือคนที่ฉลาดที่สุดในห้องนี้” ที่ผู้นำเชื่อว่าไอเดียของตัวเองดีที่สุดเสมอจนทำให้ผู้ตามรู้สึกไม่ได้รับการให้คุณค่าแก่ความคิดของพวกเขาและสูญเสียความเชื่อใจที่สุดท้ายก็ทำให้ตัวผู้นำพลาดโอกาสในการรับฟังไอเดียดีๆไป… วิธีแก้ไขความคิดนี้ทำได้ด้วยการเปลี่ยนความคิดจากการไปคนเดียวไปได้เร็วมาเป็นความเชื่อว่า “ความคิดของคนหลายคนนั้นดีกว่าความคิดของคนคนเดียวเสมอ (none of us is smarter than all of us)” ซึ่งต้องมาพร้อมกับการถ่อมตนยอมรับว่าตัวเองไม่ใช่คนที่ฉลาดที่สุดและการรับฟังอย่างตั้งใจและเคารพในไอเดียของผู้อื่นด้วยความเชื่อที่ว่าผู้อื่นก็มีศักยภาพและสามารถพัฒนาเติบโตไปได้อีกเรื่อยๆ… ผู้นำที่ดีจึงไม่ใช่คนออกไอเดียที่ดีที่สุดแต่เป็นผู้ที่สามารถเพิ่มพูน (multiply) ไอเดียของทุกคนจนได้เป็นไอเดียที่ดีที่สุด
Chapter 14 : Barrier #5 : “This is Who I Am”
อุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงสู่วิถีแห่ง Trust & Inspire ข้อที่ 5 ก็คือความคิดที่ว่า “มันคือตัวตนของฉัน” ที่ผู้นำเชื่อมั่นว่าวิธีคิดแบบ Command & Control นั้นคือวิธีการเดียวที่พวกเขาทำได้… วิธีแก้ไขความคิดนี้ทำได้ด้วยการคิดแบบเติบโต (growth mindset) ว่ามนุษย์ทุกคนไม่ใช่เครื่องจักรที่ถูกโปรแกรมมาแล้วตั้งแต่เกิด แต่พวกเราต่างเป็นโปรแกรมเมอร์ผู้ที่สามารถลบโค้ดเดิมและเขียนโค้ดใหม่ให้กับตัวเองได้อยู่เสมอ
Part Four – The New Way to Lead in a New World
Chapter 15 : Trust & Inspire in Any Context : Parenting, Teaching, Coaching… and More
วิถีความเป็นผู้นำแบบ Trust & Inspire นั้นสามารถนำมาปรับใช้ในทุกสถานการณ์ของความเป็นผู้นำในชีวิตประจำวันได้ ไม่ว่าจะเป็น พ่อแม่ คุณครู โค้ชสอนกีฬา ทนายความ พระสงฆ์และอีกมากมาย โดยผู้นำที่ปฏิบัติตัวแบบ Trust & Inspire ในที่ทำงานแล้วก็ควรนำเอาหลักคิดเดียวกันมาใช้กับตัวเองและความสัมพันธ์รอบข้างเช่นเดียวกัน
ยกตัวอย่างกรณีของการเป็นพ่อแม่แบบ Trust & Inspire นั้นต้องเริ่มจากการมีความเชื่อที่ว่าลูกของเรามีศักยภาพและเป้าหมายของพ่อแม่ก็คือการอุ้มชูศักยภาพเหล่านั้นให้ลูกเติบโตเป็นคนที่มีคุณค่า… ไม่ใช่การสร้างบุคคลที่เชื่อฟังคำสั่งของพ่อแม่อย่างไม่ลืมหูลืมตา ซึ่งก็มักไม่ดีค่อความสัมพันธ์และอนาคตของลูกเอาเสียเลย… ดังนั้น พ่อแม่จึงต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีของนิสัยที่พ่อแม่อยากให้ลูกๆกระทำ พ่อแม่ต้องหมั่นสื่อสารในศักยภาพที่มีอยู่ของตัวลูกและให้ความรับผิดชอบเล็กๆน้อยๆให้ลูกได้เริ่มรู้สึกถึงความเชื่อใจในศักยภาพของพวกเขา ปิดท้าย พ่อแม่ก็ต้องหมั่นสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขาได้ค้นพบสิ่งที่มีความหมาย
ไม่ว่าในสถานการณ์ใด… หากเราทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ผู้อื่นจะคิดอยากทำตัวแบบที่ดีเหมือนเรา…หากเราให้ความเชื่อใจ ผู้อื่นจะตั้งใจทำสิ่งที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุดสมกับความเชื่อใจนั้น… หากเราสร้างแรงบันดาลใจ ผู้อื่นก็อยากที่จะร่วมลงมือทำสิ่งที่มีความหมายนั้นไปพร้อมกับเรา
<<< ติดตาม [สรุปหนังสือ] เล่มอื่นๆต่อได้ทางนี้เลยครับ [CLICK] >>>
<<< ที่สำคัญ อย่าลืมกดไลค์ Panasm’s Facebook Page เพื่อติดตามอัพเดทใหม่ๆของผมนะครับ [CLICK] >>>
<<< ปิดท้าย สิ่งที่ผมทำสรุปมานั้นเป็นเพียงแค่เนื้อหาส่วนที่ผมสนใจที่สุดของหนังสือเล่มนี้ สำหรับเพื่อนๆที่ถูกใจสรุปของหนังสือเล่มนี้ อย่าลืมซื้อหนังสือเล่มเต็มและอุดหนุนผู้เขียนกันด้วยนะครับ ขอบคุณที่ติดตามครับผม >>>
ประเภทอาหาร: Western Comfort Food คะแนนรีวิว: ★★★★ [...]
ประเภทอาหาร: Modern French คะแนนรีวิว: ★★★★★ [...]
by Yuval Noah Harari [...]
ประเภทอาหาร: Modern European with Asian Accents คะแนนรีวิว: ★★★★★ [...]
ประเภทอาหาร: Thai Seafood คะแนนรีวิว: ★★★ [...]
ประเภทอาหาร: Authentic Thai คะแนนรีวิว: ★★★★★ [...]