Marketing 4.0: Moving from Traditional to Digital
Philip Kotler, Hermawan Kartajaya & Iwan Setiawan
“In the high-tech world, people long for high touch.”
ในปี 2010 บิดาแห่งการตลาดยุคใหม่ Philip Kotler แห่ง Kellogg School of Management ได้นำเสนอแนวคิด Marketing 3.0 ที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำการตลาดจาก product-driven marketing (1.0) และ customer-centric marketing (2.0) เป็น human-centric marketing ที่มอง “ลูกค้า” เป็น “มนุษย์” ที่มีหัวใจและจิตวิญญาณ
Marketing 4.0 เป็นการขยายเอาแนวคิดของ Marketing 3.0 มาต่อยอดให้เข้ากับยุคสมัยของ digital economy ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องทั้งจากเทรนด์ใหม่ๆที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น social network, sharing economy, now economy, content marketing, omnichannel และอีกมากมายที่นำไปสู่การหลอมรวมระหว่างศาสตร์การตลาดแบบดั้งเดิมเข้ากับศาสตร์การตลาดในยุคดิจิตอล ติดตามอ่านได้เลยครับ !!
[อัพเดท: อ่านสรุปหนังสือ Marketing 5.0 เล่มล่าสุดของ Philio Kotler ได้ที่นี่เลย CLICK]
ปรมาจารย์ด้านการตลาด Philip Kotler (ขอบคุณภาพจาก World Marketing Summit Group)
<<< ก่อนเริ่มอ่าน อย่าลืมกดไลค์ Panasm’s Facebook Page เพื่อติดตามอัพเดทใหม่ของผมที่นี่ [CLICK] >>>
Part I: Fundamental Trends Shaping Marketing
Chapter 1: Power Shifts to the Connected Customers
From Exclusive to Inclusive: โลกปัจจุบันนั้นเปลี่ยนแปลงจากยุคของความได้เปรียบของกลุ่มชนชั้นสูงและบริษัทยักษ์ใหญ่สู่โลกที่ทุกฝ่ายมีความเท่าเที่ยมกันมากขึ้น ทั้งการเติบโตของประเทศกำลังพัฒนาด้านเศรษฐกิจและนวัตกรรมในเอเชียที่กำลังแย่งพื้นที่การของมหาอำนาจอย่างอเมริกาและยุโรป ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลงทำให้คนเข้าถึงสินค้าและบริการต่างๆได้มากขึ้น การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายความรู้อย่างรวดเร็วและสร้างความเชื่อมโยงถึงกันอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน การที่ธุรกิจท้องถิ่นคัดลอกโมเดลธุรกิจของแบรนด์ยักษ์ใหญ่ไปใช้ในประเทศของตัวเองหรือสร้างผลิตภัณฑ์มาแข่งขันด้วยราคาที่ถูกกว่า การเลือนลางของกำแพงของอุตสาหกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันของธุรกิจที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมที่ต่างกัน การเกิดขึ้นของธุรกิจโมเดลใหม่ที่เข้ามาทำลายล้างกฎการแข่งขันแบบเดิมๆ (NetFlix, Uber, Airbnb และอีกมากมาย) โลกของ social media และ online platform ที่ให้อำนาจการตัดสินใจต่างๆให้กับผู้ใช้งานอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
From Vertical to Horizontal: globalization และอินเตอร์เน็ตได้สร้างสนามการแข่งขันที่เท่าเทียมกันของบริษัทยักษ์ใหญ่และผู้เล่นตัวเล็กๆที่สามารถสร้างฐานลูกค้าเฉพาะกลุ่มของตัวเองได้ บริษัทใหญ่เริ่มให้ความสำคัญกับบริษัทเล็กๆมากขึ้น เช่น การซื้อกิจการหรือนวัตกรรมของบริษัทเล็กๆเพื่อนำเข้าสู่ตลาดที่ใหญ่เดิมของตัวเอง การสร้าง trust ของลูกค้าก็เปลี่ยนไปจากการนำเสนอแบบฝ่ายเดียวของบริษัทเป็นความเชื่อที่เกิดจากกลุ่ม f-factors ได้แก่ friends, families, Facebook fans และ Twitter followers ที่นำมาสู่สังคมการให้คะแนนสินค้าและบริการมากมาย เช่น Yelp และ TripAdvisor … การที่แบรนด์จะสามารถสร้างความเชื่อใจของผู้บริภาคได้นั้นเหลือเพียงหนทางเดียวคือ “การเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงของแบรนด์อย่างซื่อสัตย์พร้อมกับการนำเสนอสินค้าและบริการที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง”
From Individual to Social: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัว (individual prefence) และความต้องการของสังคม (desire for social conformity) ซึ่งปัจจุบัน social media ได้สร้างอิทธิพลให้ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับมุมมองของสังคมมากยิ่งขึ้น ผู้บริโภคจะแปลงกายจากการเป็นผู้ซื้อเฉยๆเป็น “สื่อ” ที่คอยกระจายข่าวให้กับผู้บริโภคคนอื่นๆ … ผู้บริโภคหลายคนอาจจะมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้า (zero moment of truth) ก่อนที่จะได้ลองสัมผัสหรือใช้งานเลยด้วยซ้ำ … การมีสินค้าที่มีจุดบกพร่องหรือไม่ตรงตามสิ่งที่แบรนด์นำเสนอไว้จะถูกต่อต้านและไม่เป็นที่ยอมรับต่อสังคมได้อย่างรวดเร็วและรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
Chapter 2: The Paradoxes of Marketing to Connected Customers
กลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆคือกลุ่มคนอายุน้อยที่เริ่มมีรายได้สูงขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาที่มีแนวโน้มในการใช้จ่ายเงินตามสไตล์ของคนเมืองมากขึ้นเรื่อยๆและมีความคุ้นเคยกับโลกออนไลน์ (digital native) … “Connectivity” หรือการเชื่อมต่อถึงกันอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนคือปัจจัยหลักที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำการตลาดแบบเดิมๆ
Online Interaction vs. Offline Interaction Paradox: โลกเคยเข้าใจผิดว่าสินค้าและบริการ online จะเข้ามาแทนที่สินค้าและบริการแบบ offline แต่จริงๆแล้ว online และ offline นั้นได้เข้ามาเติมเต็มซึ่งกันและกันได้อย่างสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น … ถึงแม้ online จะช่วยให้ทุกอย่างรวดเร็ว ง่ายและประหยัด แต่ก็ไม่สามารถแทนที่ความคุ้นเคยและการปฏิสัมพันธ์ชั้นเลิศ (high-touch interaction) ของ offline ได้ อาทิ Zappos บริษัทขายรองเท้าออนไลน์ที่มีจุดเด่นคือกลุ่มพนักงาน call center อารมณ์ดีที่คอยให้บริการลูกค้า Amazon ที่เปิดร้านค้าแบบ brick and mortar พร้อมระบบการชำระเงินแบบดิจิตอล ไปจนถึงพฤติกรรมการเสพข่าวสารและสื่อการตลาดของคนที่อาจเริ่มจาก online ก่อนไปจบที่ร้านค้า หรือ เริ่มจากการดูโฆษณาทางทีวิแล้วค่อย search หาข้อมูลออนไลน์แทน
Informed Customer vs. Distracted Customer Paradox: social media ช่วยให้ผู้บริโภคมีอำนาจในการตัดสินใจมากขึ้นจากการหาความรู้เพิ่มเติมในโลก offline และ online แต่ถึงอย่างนั้น ผู้บริโภคก็มีแนวโน้มที่จะเชื่อถือคนในครอบครัว เพื่อนหรือคนแปลกหน้าในสังคมเดียวกันในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน ประกอบกับการมีเวลาและความอดทนที่จำกัดมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้บริโภคหลายคนจึงมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจตามคนส่วนใหญ่ (wisdom of the crowd) มากขึ้นเรื่อยๆ … นักการตลาดที่ดีต้องสามารถดึงจุดสนใจของผู้บริโภคในเวลาอันสั้นได้พร้อมๆกับการสร้างผู้ที่หลงใหลในแบรนด์ที่จะคอยชักจูงให้ผู้บริโภคคนอื่นๆคล้อยตามไปด้วย
Negative Advocacy vs. Positive Advocacy Paradox: “Advocacy” หรือ “word of mouth” ที่หมายถึงกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นได้ทั้งรัก (positive) และเกลียด (negative) แบรนด์คือสิ่งที่สำคัญมากในการทำการตลาดปัจจุบัน … positive advocacy แบ่งออกเป็นกลุ่มคนที่คอยสนับสนุนแบรนด์อย่างตลอดเวลา (active advocate) กับกลุ่มคนที่คอยสนับสนุนเมื่อถูกกระตุ้น (prompted advocate) … การมีอยู่ของ negative advocacy ก็ไม่ใช้สิ่งที่เลวร้ายเสมอไป เนืองจากพวกเขาจะคอยกระตุ้นให้กับ prompted advocate เกิดแรงสนับสนุนในตัวแบรนด์อย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นการสร้างสีสันให้กับแบรนด์ได้เป็นอย่างดี (เทียบกับแบรนด์จืดๆที่ไม่มีทั้งคนรักและคนเกลียด) … แบรนด์ที่ดียังไงก็ต้องมีคนบางกลุ่มไม่ชอบไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง … สิ่งที่แบรนด์ต้องทำมากที่สุดคือการสร้างกลุ่มคนที่บ้าคลั่งในตัวแบรนด์ให้มากที่สุด
Chapter 3: The Influential Digital Subcultures
เมื่อโลกเปลี่ยนไป กลุ่มเป้าหมายผู้ส้างอิทธิพลทางการตลาดก็เปลี่ยนแปลงตาม จากกลุ่ม senior, men และ citizens ผู้ที่เคยมีอำนาจในการตัดสินใจซื้อสินค้าจากฐานะทางการเงินที่ดีกว่ามาเป็นกลุ่ม youth, women และ netizens ที่เริ่มมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆแทน
Youth, Acquiring the Mind Share: กลุ่มเยาวชนตั้งแต่อายุ 10 ปีถึง 24 ปีกำลังเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก โดยกลุ่ม youth นั้นมีบทบาทอย่างยิ่งในการเป็น early adopter หรือผู้ริเริ่มทดลองใช้งานสิ่งใหม่ๆและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อพบเจอสิ่งที่ดีกว่าแถมยังสามารถแพร่กระจายคุณค่าไปสู่ผู้บริโภคกลุ่มอื่นได้ต่อไป (iPad และ Facebook ก็แพร่กระจายจากกลุ่มนี้) กลุ่ม youth ยังทำหน้าที่เป็น trendsetter หรือผู้นำเทรนด์และ game changer หรือผู้ที่คอยสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคม … youth คือกลุ่มเป้าหมายหลักของสินค้าและบริการใหม่ๆโดยเฉพาะสิ่งที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัยเข้ามาเกี่ยวข้อง พวกเขายังเป็นกลุ่มที่คุ้มค่าที่สุดในการลงทุนทางการตลาดเพื่อซื้อใจพวกเขาในระยะยาวอีกด้วย
Women, Growing the Market Share: กลุ่มผู้บริโภคผู้หญิงนั้นถือเป็น information collector ที่มักจะศึกษาข้อมูลสินค้าและบริการจากแหล่งข้อมูลและเพื่อนฝูงในสังคมก่อนตัดสินใจซื้อมากกว่ากลุ่มผู้ชาย แถมผู้หญิงยังได้รับตำแหน่ง household manager ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของครอบครัวมากกว่าผู้ชายมากขึ้นเรื่อยๆ
Netizens, Expand the Heart Share: กลุ่ม netizen หรือ citizen of internet หมายถึงกลุ่มผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตที่ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ใช้งานและผู้ที่คอยสนับสนุนโลกออนไลน์ไปในตัว ทั้ง กลุ่มผู้สร้าง content ผู้พัฒนาระบบ นักวิจารณ์และนักรีวิว ซึ่งพวกเขามีหน้าที่สำคัญคือ social connectors หรือผู้ที่คอยเชื่อมประสานสังคมของผู้ที่มีความชอบเหมือนๆกันเข้าด้วยกันจนเป็นปึกแผ่นที่คอยทำหน้าที่เป็น expressive evangelists หรือผู้บอกต่อคุณค่าของแบรนด์ทั้งในด้านดีและไม่ดี … กลยุทธ์การตลาดที่ดีต้องสามารถพิชิตใจผู้นำอิทธิพลภายในกลุ่มสังคมของ netizens ได้ หากทำสำเร็จ พวกเขาจะกลายเป็นผู้ที่พร้อมแนะนำและปกป้องแบรนด์อย่างเข้มแข็ง
Chapter 4: Marketing 4.0 in the Digital Economy
Marketing 4.0 ในยุค Digital Economy ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การผสมผสานการตลาดแบบ online และ offline เข้าด้วยกัน การผสมผสานระหว่างสไตล์และตัวตนที่แท้จริงของแบรนด์และการสร้าง customer engagement ผ่านการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์และคอมพิวเตอร์ โดยมีจุดมุ่งหมายที่การสร้าง positive advocacy หรือกลุ่มลูกค้าที่คอยแนะนำแบรนด์ให้กับลูกค้าคนอื่นๆ
From Segmentation and Targeting to Customer Community Confirmation: การตลาดแบบดั้งเดิมที่มีการแบ่งแยก segment ของลูกค้าเป็นกลุ่มก่อนที่จะเลือก target เป้าหมายกลุ่มลูกค้าที่ต้องการนั้นเปรียบเสมือนการล่าเหยือที่อยู่ต่ำกว่าซึ่งอาจจะใช้ไม่ได้ผลแล้วในยุคของ digital economy … กลุ่มของลูกค้ายุคดิจิตอลคือ community ที่เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มกันของลูกค้าที่เชื่อมต่อกัน การจะเข้าไปทำการตลาดจะเปลี่ยนจาก vertical มาเป็น horizontal ด้วยการ “ขออนุญาต” กลุ่ม community เพื่อเข้าไปเสนอ marketing message แทน
From Brand Positioning and Differentiation to Brand Clarification of Characters and Codes: แบรนด์ไม่สามารถตั้ง positioning ของตัวเองบนอากาศแบบกลวงๆได้อีกต่อไป … แบรนด์จะต้องแสดงให้เห็นถึงตัวตนที่แท้จริงอย่างซื่อสัตย์เท่านั้นถึงจะสามารถซื้อใจกลุ่มลูกค้าในยุคดิจิตอลได้
From the Four P to the Four C: ยุค digital economy เปิดโอกาสให้การเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างแบรนด์และลูกค้ากลายเป็นแบบ 2-way อย่างรวดเร็ว ซึ่งแตกต่างจากเดิมที่การวางกลยุทธ์การตลาดส่วนใหญ่เป็นการทำตลาดแบบ one way … the Four C ประกอบด้วย
Part II: New Frameworks for Marketing in the Digital Economy
Chapter 5: The New Customer Path
ในยุค digital economy ที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลและกลุ่มสังคมของพวกเขาได้อย่างง่ายดาย ทำให้พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าของพวกเขาเปลี่ยนไปโดยพวกเขาหันไปเชื่อครอบครัว เพื่อนและกลุ่มสังคมพร้อมกับความไม่เชื่อใจแบรนด์ที่เพิ่มมากขึ้น
Customer Path ของ Marketing 4.0 คือ the Five A’s ที่ประกอบด้วย Aware, Appeal, Ask, Act, Advocate
ในบางครั้งลูกค้าอาจจะข้าม Customer Path บางข้อหรือวนกลับไปมาได้ เช่น แฟนคลับรถ Tesla ข้ามการซื้อรถ (act) ไปเป็นผู้สนับสนุน (advocate) ไปเลย หรือ การซื้อสินค้าง่ายๆแบบดั้งเดิมที่ข้ามขั้นตอน ask ไปซื้อเลยเพื่อความรวดเร็ว
ปัจจัยที่ส่งอิทธิพลต่อการตัดสินใจใน Customer Path แต่ละจุดประกอบด้วย Own, Other และ Outer (The O Zone)
Chapter 6: Marketing Productivity Metrics
หน่วยวัดผลของแผนการตลาดที่ดีต้องวัดได้ทั้งเป้าหมายและประสิทธิภาพของกระบวนการระหว่างทางจนไปถึงเป้าหมายเพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปขยายผลหรือปรับปรุงแผนการตลาด … Marketing 4.0 นำเสนอตัววัดทางการตลาดใหม่ ได้แก่
การวัดผลอย่างละเอียดต้องวัดผลในทุกช่วงต่อของ Customer Path (Aware > Appeal > Ask > Act > Advocate) โดยเมื่อศึกษาพบว่าสัดส่วนระหว่าง A ไหนมีค่าต่ำเป็นคอขวด นักการตลาดก็จะสามารถแก้ไขได้อย่างถูกจุด
Chapter 7: Industry Archetypes and Best Practices
Customer Path (5 A’s) สามารถแบ่งแยกพฤติกรรมลูกค้าของแต่ละอุตสาหกรรมได้หลักๆเป็น 4 ประเภทได้แก่
แต่รูปแบบของอุตสาหกรรมที่อยู่ในอุดมคติที่สุดคือ Bow Tie (Aware > Appeal > Ask < Act < Advocate) ที่สามารถเปลี่ยนลูกค้าที่รับรู้ถึงแบรนด์ (Aware) ให้กลายเป็น Advocate ได้ทั้งหมดและสามารถเปลี่ยนลูกค้าที่สนใจ (Appeal) ทั้งหมดให้กลายมาเป็นผู้ซื้อสินค้า (Act) … อุตสาหกรรมใน 4 รูปแบบเบื้องต้นจะต้องพยายามปรับสัดส่วนลูกค้าให้เป็นไปตาม Bow Tie ให้ได้มากที่สุด
อุตสาหกรรมยังสามารถแบ่งออกได้ตามการวัดข้อมูล BAR เป็น 2 มิติได้แก่ ค่าเฉลี่ยของ BAR และความกว้างของ BAR
Part III: Tactical Marketing Applications in the Digital Economy
Chapter 8: Human-Centric Marketing for Brand Attraction
ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามาทำงานแทนมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ การที่แบรนด์จะสามารถดึงดูดลูกค้า (จาก Aware เป็น Appeal) นั้น แบรนด์จะต้องดึง “ความเป็นมนุษย์” ของแบรนด์ออกมาตามหลัก Marketing 3.0 ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงง่าย ไม่น่ากลัว รู้จักถ่อมตัว ตรงไปตรงมา ผิดแล้วต้องยอมขอโทษได้ … นักการตลาดต้องค้นหา “ความเป็นมนุษย์” ที่กลุ่มลูกค้าของแบรนด์มีความกังวลและมีความต้องการ ซึ่งในยุคนี้อาจสามารถทำได้โดยการทำ Social Listening (โปรแกรมมอนิเตอร์ความคิดเห็นของลูกค้าใน social media) และ Netnography (การส่งนักวิเคราะห์เข้าไปศึกษาทำความเข้าใจ “ชนเผ่าในโลกออนไลน์” อย่างละเอียด)
Human-Centric Brand ที่ดีพร้อมเป็น Role Model จะต้องมี 6 องค์ประกอบของความเป็นมนุษย์ ได้แก่
Chapter 9: Content Marketing for Brand Curiosity
Content Marketing คือ กลยุทธ์การตลาดใหม่ในยุค digital economy ที่เริ่มเข้ามาแทนที่โฆษณารูปแบบเดิมๆที่แบรนด์ยัดเยียนข้อความทางการตลาดให้กับลูกค้า ขณะที่ Content Marketing คือการนำเสนอ content ที่น่าสนใจและมีประโยชน์ตรงตามสิ่งที่ลูกค้าต้องการซึ่งช่วยให้แบรนด์กับลูกค้าเกิดการพูดคุยกันและเชื่อมต่อถึงกันได้มากขึ้น (ส่งเสริม Ask)
Step-by-Step Content Marketing
Chapter 10: Omnichannel Marketing for Brand Commitment
“Aim to combine the best of both worlds – the immediacy of online channels and the intimacy of offline channels”
ในโลกปัจจุบัน การเดินทางของลูกค้านั้นซับซ้อนมากขึ้นกว่าเดิมมาก ลูกค้าอาจจะเดินเลือกสินค้าในห้างสรรพสินค้าก่อนที่จะเข้าเว็ปไปซื้อสินค้าออนไลน์ในช่องทางที่ถูกที่สุด (showrooming) หรือลูกค้าอาจจะได้รับข้อมูลสินค้าจากโลกออนไลน์และตัดสินใจเดินทางไปซื้อสินค้าจริงในร้านค้า (webrooming) … ลูกค้ามีความต้องการการตอบสนองที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น พวกเขาเริ่มไม่แยกช่องทางการสื่อสารและช่องทางการขายหลายๆช่องทางออกจากกัน … กลยุทธ์ทางการตลาดที่จะมาตอบสนองพฤติกรรมใหม่ของลูกค้าในยุคดิจิตอลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปิดการขาย (Act) ของลูกค้าได้มากที่สุดคือ Omnichannel Strategy
Omnichannel Strategy คือ กลยุทธ์การร้อยเรียงช่องทางการสื่อสารและช่องทางการขาย (channel) ทั้งหมดของแบรนด์เข้าด้วยกันเพื่อสร้างประสบการณ์แบบไร้รอยต่อให้กับลูกค้า (seamless customer experience) โดยมี 4 Trends หลักดังนี้
Step-by-Step Omnichannel Marketing
Chapter 11: Engagement Marketing for Brand Affinity
ในยุคดิจิตอล แบรนด์ที่สามารถผลักดันให้ลูกค้าเดินทางจาก Aware ไปจนถึง Act (sales cycle) ได้นั้นไม่เพียงพออีกต่อไป แบรนด์จะต้องพัฒนาลูกค้าให้กลายมาเป็น Brand Advocate ซึ่งมีกลยุทธ์ที่สำคัญคือการสร้าง customer engagement ผ่าน 3 วิธีดังนี้
Epilogue: Getting to WOW!
Jia Jiang เจ้าของ tech start-up ที่โดนปฎิเสธไอเดียมานับครั้งไม่ถ้วนตั้งใจว่าจะทำแคมเปญ rejection therapy โดยเขาจะเข้าไปหาแบรนด์ต่างๆเพื่อรีเควสอะไรแปลกๆและหวังว่าแบรนด์จะปฎิเสธเขาอย่างไร้เยื่อใย (ทั้งหมดนี้เพื่อให้ตัวเขาเองชินกับการถูกปฎิเสธมากขึ้น) แต่แล้วในวันที่ 3 ของแคมเปญ เขาได้ขอซื้อโดนัทรูป 5 ห่วงโอลิมปิก จาก Krispy Kreme สาขาหนึ่ง แต่แล้ว Jia ก็ต้องช็อกเมื่อปรากฎว่าพนักงานของ Krispy Kreme บอกว่า “จัดให้” … คลิปวิดิโอของ Jia มีคนดู 5 ล้านวิว
WOW คือความรู้สึกดีเยี่ยมที่ไม่สามารถบรรยายออกมาเป็นคำพูดได้ของลูกค้าเมื่อพวกเขาเจอกับสิ่งที่เหนือความคาดหวังและ WOW นี่เองคือสิ่งที่สร้างความแตกต่างของแบรนด์ในยุคดิจิตอลและเป็นแรงผลักดันที่ดีที่สุดที่สามารถเปลี่ยนลูกค้ามาเป็น Brand Advocate ได้ … แบรนด์ที่ต้องการเอาชนะใจลูกค้าไม่ควรปล่อยให้โอกาสในการ WOW ลูกค้าหลุดลอยไป แบรนด์ควรจะต้องวางแผนการสร้าง WOW ให้เป็นกลยุทธ์หลักตลอดการเดินทาง 5 A’s ของลูกค้า
<<< ติดตาม [สรุปหนังสือ] เล่มอื่นๆต่อได้ทางนี้เลยครับ [CLICK] >>>
<<< ที่สำคัญ อย่าลืมกดไลค์ Panasm’s Facebook Page เพื่อติดตามอัพเดทใหม่ๆของผมนะครับ [CLICK] >>>
ประเภทอาหาร: Western Comfort Food คะแนนรีวิว: ★★★★ [...]
ประเภทอาหาร: Modern French คะแนนรีวิว: ★★★★★ [...]
by Yuval Noah Harari [...]
ประเภทอาหาร: Modern European with Asian Accents คะแนนรีวิว: ★★★★★ [...]
ประเภทอาหาร: Thai Seafood คะแนนรีวิว: ★★★ [...]
ประเภทอาหาร: Authentic Thai คะแนนรีวิว: ★★★★★ [...]
View Comments
Thanks for finally talking about > [สรุปหนังสือ]
Marketing 4.0 : Moving from Traditional to Digital –
Panasm's Blog < Loved it!